ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
สภาวะทันตสุขภาพ, ผู้ดูแลเด็ก, เด็กก่อนวัยเรียนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) ปัจจัยเอื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก การจัดกิจกรรมอบรมทางทันตสุขภาพ (3) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางทันตสุขภาพของผู้ดูแลเด็กในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (4) ศึกษาเปรียบเทียบสภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนจำแนกตามปัจจัยเอื้อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก ประชากรที่ศึกษาเก็บทุกหน่วยประชากร มี 2 กลุ่มได้แก่ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน72 คน และเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1,162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความเที่ยงเท่ากับ 0.725 และแบบบันทึกสภาวะโรคฟันผุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า (1) ร้อยละ 58.11 ของเด็กก่อนวัยเรียนมีฟันผุ (2) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลางถึง ระดับดีทำใหส้ ภาวะทันตสุขภาพไมดี่ (3) ความรูข้ องผูดู้แลเด็กอยูใ่ นระดับดี ทัศนคติของผูดู้แลเด็กอยูใ่ นระดับดีที่สุด พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับดี (4) ผลการเปรียบเทียบสภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนจำแนกตามปัจจัยเอื้อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก พบว่า ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลางถึงระดับดีทำให้สภาวะทันตสุขภาพไม่ดี ความรู้ของผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับดีทำให้สภาวะทันตสุขภาพดี ทัศนคติของผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับดีที่สุดและพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับดีทำให้สภาวะทันตสุขภาพไม่ดีพบว่า อายุ ระดับการศึกษา ความรู้ของผู้ดูแลเด็กที่แตกต่างกัน สภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุที่มากขึ้น ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป และความรู้ที่ดีของผู้ดูแลเด็กทำให้สภาวะทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนดี
References
จังหวัดเพชรบูรณ์.
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ
แห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2550-2555 ประเทศไทย.
จุฑามาศ เรียบร้อย. (2538). อิทธิพลของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่อนามัย และพัฒนากรตำบล ต่อปัญหา
สภาวะทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าวิจัย
แบบอิสระ. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 63-76.
นฤชิต ทองรุ่งเรือง และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ. ศรีนครินทร์เวชสาร,
28(1),16-22.
พัชรี เรืองงาม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุวรลักษบุรี
จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารทันตสาธารณสุข,18(2), 9-21.
พัทธนันท์ ศิริพรวิวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน
จังหวัดศรีสะเกษ. สาธารณสุขมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ภาวิณี ดวงศรี. (2552). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วสิน เทียนกิ่งแก้ว. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.