คนพิการในที่ทำงาน: ความหลากหลายและระบบสนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
คำสำคัญ:
คนพิการ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ความหลากหลาย, ระบบสนับสนุนบทคัดย่อ
พลวัตของความหลากหลายที่เคลื่อนตัวในบริบทการดำเนินชีวิตของมนุษย์ บนพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ การยอมรับความหลากหลาย คุณค่าของความหลากหลาย และการจัดการความหลากหลาย ถือเป็นประเด็น สำคัญ โดยเฉพาะคนพิการที่มีความบกพร่องทางกายภาพอันเป็นอุปสรรคต่อการทำงานในองค์การ รัฐจึงต้อง มีบทบาทต่อการสนับสนุนบุคคลกลุ่มนี้เป็นพิเศษเพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียม หลังจากที่ประเทศไทย ได้ประกาศกฎหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ได้เพิ่มสภาพบังคับในระบบสัดส่วนการจ้างงานคนพิการ 100 ต่อ 1 คน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างและสถานประกอบการจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการลา่ ชา้ ตอ้ งเสียดอกเบี้ยรอ้ ยละ 7.5 ตอ่ ป ี และใหอ้ ำนาจแกภ่ าครัฐสามารถอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ และให้มีอำนาจโฆษณารายชื่อผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต่อสาธารณะอย่างเปิดเผยแล้วนั้น แต่สภาพการบังคับทางกฎหมายในปัจจุบันเป็นเพียงการพยายามสร้างความเท่าเทียมผ่านกลไกภาครัฐ ในมิติโอกาสในการทำงานของคนพิการ บทบาทสำคัญควรมุ่งให้ความสนใจต่อการจัดการขององค์การที่จะเอื้อโอกาสให้คนพิการได้เข้าไปทำงานมากขึ้นกว่าเพียงการกำหนดกฎหมายหากองค์การมีความเต็มใจ และมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้คนพิการได้เข้ามาร่วมงานต่างๆ ได้สะท้อน ผ่านนโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การเลื่อนตำแหน่งงาน การรักษาบุคลากร การปรับเปลี่ยนสิ่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาความลับขององค์การ บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นภาพเชิงซ้อนระหว่างนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการที่อยู่ในที่ทำงาน คนพิการกับการมีงานทำ แนวทางการจ้างงานคนพิการ และบทบาทของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ทีมฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบสนับสนุนการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มคนพิการในองค์การที่สนับสนุนและเอื้อให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
References
เข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554. (2554). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557, จาก https://www.
snmrc.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:disabilities-act&cat
id=18:2010-06-03-03-21-42
กรมประชาสงเคราะห์. (2528). สังคมสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและทุพพลภาพ. กรุงเทพฯ:
กรมประชาสงเคราะห์.
กรมประชาสงเคราะห์. (2534). พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. (อัดสำเนา)
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, กองวิชาการบริหาร
งานบุคคล, กลุ่มงานสรรหาบุคคล. (2543). การส่งเสริมคนพิการเข้าทำงานด้านการศึกษา. กรุงเทพ:
โรงพิมพ์การศาสนา.
กุลวีณ์ วุฒิกร. (2552). การติดตามผลการปฏิบัติงานของคนพิการในสถานประกอบการเขตกรุงเทพมหานคร.
สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษร พันธุ. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของคนพิการ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
จิตรา ศิริสมบูรณ์ลาภ. (2557). การจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พ.ศ.2550. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.
php?nid=11499
จิราวัลย์ คงถาวร. (2547). ความเป็นไปได้ในการจ้างงานคนพิการของบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)
จำกัด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จีระ พุ่มพวง. (2547). สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2543. สืบค้นเมื่อ
2 ธันวาคม 2557, จาก https://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_032.htm
บริษัท เฮย์กรุ๊ป. (2556). กลเม็ดเด็ดเพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก https://
www.haygroup.com/th/press/details.aspx?id=36468
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. (2550). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557,
จาก https://e-workfl ow.mot.go.th/law/Uploads/p10.pdf
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทาน
จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่
คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ.2552. (2552). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557, จาก https://www.
snmrc.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:disabilities-act&cat
id=18:2010-06-03-03-21-42
วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และจุไร ทัพวงษ์. (2554). บทวิพากษ์นโยบายและข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติเกี่ยวกับ
คนพิการในประเทศไทย: ความเสมอภาคในโอกาสของการมีงานทำงานและไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดย
ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมการจัดหางาน. (ม.ป.พ.). แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ
สังคม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก www.policy.doe.go.th/ebookdoc/020400005604_1.pdf
ศูนย์สื่อสารสังคม. (2557). กรมสุขภาพจิต ชวนคนไทย เข้าใจให้โอกาส เปลี่ยนออทิสติกจาก “ภาระ” ให้เป็น
“พลัง”. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557, จาก https://www.forums.dmh.go.th/index.php?topic=137048.
0%3Bwap2
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). รายงานการสำรวจคนพิการ พ.ศ.2555. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก
https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/disabilityRep_55.pdf
สุวภา จรดล และโชคชัย สุธาเวศ. (2556). การจัดบริการด้านการจ้างงานของรัฐแก่คนพิการ. วารสารวิทยบริการ,
24(3), 18-32.
อริสา สำรอง. (2553). จิตวิทยาการจัดการและบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Ball, P., Monaco, G., Schmeling, J., Schartz, H., & Blanck, P. (2005). Disability as diversity in
Fortune 100 companies. Behavioral Sciences and the Law, 23, 97-121.
Canadian Labour Congress. (2008). Toward inclusion of people with disabilities in the workplace.
Retrieved September 15, 2017, from https://www.canadianlabour.ca/sites/default/fi les/pdfs/
Toward-Inclusion-of-People-with-Disabilities-EN.pdf
Earnest Friday Shawnta S. Friday. (2003). Managing diversity using a strategic planned change
approach. Journal of Management Development, Vol. 22 Iss 10 pp. 863-880.
International Labour Organization. (2001). Code of practice on managing disability in the
workplace. Tripartite Meeting of Experts on the Management of Disability at the Workplace
October 2001. Geneva.