ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเงินปันผลกับความผันผวนของราคาหุ้นสามัญ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Teptai Nuannuch
  • Sirikiat Ratchusanti
  • Chanon Chingchayanurak
  • Chaiwuth Tangsomchai

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ของนโยบายเงินปันผลกับความผันผวนของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเงินปันผลกับความผันผวนของราคาหุ้น สามัญ โดยแบ่งการทดสอบเป็น 3 ส่วนได้แก่ การทดสอบระดับ (Level) ของนโยบายเงินปันผลที่มีต่อความผันผวนของราคาหุ้น การทดสอบการเปลี่ยนแปลง (Change) ของนโยบายเงินปันผลที่มีต่อความผันผวนของราคาหุ้น และการทดสอบนโยบายเงินปันผลที่มีผลกระทบต่อความผันผวนของราคาหุ้นในกลุ่มที่มีการจ่าย เงินปันผลสูง (SETHD) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2557 รวมระยะเวลา 5 ปี จำนวนทั้งสิ้น 336 บริษัท 1,289 ตัวอย่าง ภายใต้เงื่อนไข ต้อง จ่ายปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและไม่เป็นหุ้นในกลุ่มธุรกิจการเงิน การศึกษานี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูล SETSMART และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี Multiple Regression Analysis แบบ Fixed Eff ect Model ตัวแปรหลักที่ใช้ทดสอบข้อมูลได้แก่ อัตราเงินปันผล (Dividend Yield) และอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) ขณะที่ตัวแปรควบคุมได้แก่ ขนาดของบริษัท (Firm Size) ความผันผวนของกำไร (Earning Volatility) อัตราการเติบโตของบริษัท (Growth in Asset) และหนี้สินระยะยาว (Long TermDebt) ผลการศึกษาพบว่า อัตราเงินปันผล (Dividend Yield) มีความสัมพันธ์กับความผันผวนของราคาหุ้น ในทิศทางตรงข้าม และอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) ไม่มีความสัมพันธ์กับความผันผวนของราคาหุ้น ในส่วนของความผันผวนของกำไร และขนาดของบริษัท มีความสัมพันธ์ต่อความผันผวนของราคาหุ้นในทิศทางตรงกันข้าม หนี้สินระยะยาวมีความสัมพันธ์ต่อความผวนผวนของราคาหุ้นในทิศทางเดียวกันขณะที่อัตราการเติบโตของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับความผันผวนของราคาหุ้น ในการทดสอบด้านการเปลี่ยนแปลงพบว่า อัตราเงินปันผลที่ลดลง (Dividend Yield Change Decrease) มีนัยสำคัญต่อความผันผวนของราคาหุ้น และการทดสอบในกลุ่มหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูง (SETHD) พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อความผันผวนของราคาหุ้นแต่อย่างใด

References

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา. (2554). ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลกับความสามารถในการทำ
กำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าแบบอิสระบัญชี
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุขใจ วิรุฬมาส. (2554). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์จากการประกาศจ่ายเงินปันผลของบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

Al-Malkawi, H. N. (2007). Determinants of Corporate Dividend Policy in Jordan: An Application
of the Tobit Model. Journal of Applied Accounting Research, 23, 44-70.

Allen, Dave E., & Rachim, S. V. (1996). Dividend policy and stock price volatility: Australian
evidence. Applied Financial Econnomics, Vol.6, Issue 2, pp. 175-188.

Baskin, J. (1989). Dividend Policy and the Volatility of Common Stocks. The Journal of Portfolio
Management, 15(3), 19-25.

Gordon, M. J. (1959). Dividends, Earnings and Stock Prices. Review of Economics and Statistics,
41, 99-105.

________. (1963). Optimal Investment and Financing Policy. The Journal of Finance, 18(2),
264-272.

Hussainey, Khaled, & Mgbame, Chijoke Oscar, & Chijoke-Mgbame, Aruoriwo M. (2010).
Dividend policy and share price volatility: UK evidence. Journal of Risk Finance, Vol. 12
Issue 1.

Kenyoru, N. D., & Kundu, S. A., & Kibiwott, L. P. (2013). Dividend Policy and Share Price
Volatility in Kenya. Research Journal of Finance and Accounting, 4(6), 115-120.

Lashgari, Z., & Ahmadi, M. (2014). The impact of Dividend Policy on stock price volatility in
the TEHRAN Stock Exchange. Journal of Business and Management, 3(10), 273-283.

Lee, B. S., & Mauck, N. (2016). Dividend initiation, increase and idiosyncratic volatility. Journal
of Corporate Finance, 1, 47-60.

Lintner J. (1962). Dividends, earnings, leverage, stock prices and supply of capital to corporations.
The Review of Economics and Statistics, 64, 243-269.

Miller, M. H. and Modigliani, F. (1961). Dividend policy, growth and the valuation of shares.
The Journal of Business, 34, 411-33.

Ramadan, Z. R. (2013). Dividend Policy and Price Volatility. Empirical Evidence from Jordan.
International Journal of Academic Research in Accounting, Vol. 3, No. 2, pp. 15-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite