แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • Patima Norrapatpimol
  • Thidawan Unkong
  • Sombat Nopparak
  • Nanthima Nakaphong

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การพัฒนาภาวะผู้นำ, คณะกรรมการสภานักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประชากรในขั้นตอนการศึกษา เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน และประธานคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน และประธานคณะกรรมการสภานักเรียน จำนวน 9 คน ในสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเป็นโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ระดับประเทศ จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา 2) แบบวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structure Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แจกแจงความถี่และการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา มีดังนี้ 1) การศึกษาด้วยตนเอง 2) การศึกษาผู้นำต้นแบบ/กรณีศึกษา 3) การอบรม/การสัมมนา 4) การพัฒนาด้วยตนเองในงานหรือในชีวิตประจำวัน 5) การสอนงาน 6) เกมการบริหาร 7) การอภิปรายกลุ่ม 8) การแสดงบทบาทสมมุติ 9) การศึกษาดูงาน และ 10) การพัฒนาโดยผู้อื่น/องค์กร/มหาวิทยาลัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). รายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ระดับประเทศ ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์.

__________. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ:
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ.

ประกอบ สาระวรรณ. (2548). การนำเสนอรูปแบบสภานักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปริญญาการศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ไพศาล จันทรภักดี. (2547). การพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้กระบวนการหลักสูตร.(ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ (Leadership). กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2547). ภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริพร กุลสานต์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการ
ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). หลักการและแนวทางในการดำเนินงานสภานักเรียน.
กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Megginson, L.C. (1972). Personnel: A behavioral approach to administration. Home wood, Illinois:
Irwin.

Rosonbach, W., and other. (1989). Contemporary issues in leadership. Colorado: Westview press.
Wentling, T and Narinchai Patanapongsa. (1993). Training of trainers: a workshop to improve
training performance a workshop conducted on behalf of FAO and The Royal Project
Chiang mai, Thailand. 6-11 December 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite