การใช้แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ ในรายวิชาการซ่อมบำรุงท่าอากาศยาน ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ ท่าอากาศยาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, การส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีเพื่อศึกษาระดับการใช้ภาษาอังกฤษ และเพื่อเปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในรายวิชาการซ่อมบำรุงท่าอากาศยาน ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) และดำเนินการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษ พบว่าระดับการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง คะแนนทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 355.83 คะแนน
และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 169.87 คะแนน และหลังได้รับการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียน (Post-test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 416.94 คะแนน และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 173.62 คะแนน ผลการเปรียบเทียบผลคะแนนทดสอบวัดระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ก่อนและหลังการได้รับการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนส่วนใหญ่มีค่าน้อยกว่าคะแนนทดสอบหลังเรียน ความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (d) มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 61.11 คะแนน และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 56.24 คะแนนเมื่อนำผลคะแนนทดสอบวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนมาเข้าโปรแกรมคำนวณเพื่อวิเคราะห์ค่า t-test เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ(Level of significance: ) ไว้ที่ 0.05 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่า t โดยใช้สถิติPaired-sample t Tests พบวา่ คา่ t คือ 4.48, df = 17, t Critical one tail = 1.74 ซึ่งคา่ t > t Critical one tail(4.48 > 1.74) และมีค่า P (P-value) = 0.00016 (one-tail) โดยเป็นการทดสอบแบบทางเดียวซึ่งมีค่าน้อยกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ () ที่ 0.05 ดังนั้นจึงปฏิเสธ สมมติฐาน H0 ยอมรับสมมุติฐาน H1 คือ H1:post-test > pre-test ซึ่งหมายความว่าระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา
References
ขนาดย่อม. วารสารวิจัย มสด, 4(2), 1-18.
ดวงกมล ฐิติเสส. (2554). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ในการสอน กฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อ
6 ธันวาคม 2559, จาก ฐานข้อมูลสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: https://
www.ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/492
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2540). สถิติเพื่อการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1),
32-46.
บุบผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่าน
การเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด, 8(2),
189-204.
อดิศา เตียว และคณะ. (2547). โครงการข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศระดับอุดมศึกษา
ในภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรพิน พจนานนท์. (2537). การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 17-31.
อารีรักษ์ มีแจ้ง, ดุษฎี รุ่งรัตนกุล, นันทวัน ชุมตันติ และอภิชัย รุ่งเรือง. (2554). การวิจัยเพื่อประเมินผล
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 55-72.