การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
Administration Model Using School-based Management for Local Development, Schools Under Local Administrative Organizationsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย ดำเนินการวิจัย ด้วยวิธีการแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผลการวิจัยพบว่า สภาพในการนำนโยบายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ พบว่า 1) งานวิชาการ ในการวางแผน (Planning) มีการวางแผน มีการส่งเสริมการศึกษา ขาดความเข้าใจในการทำหลักสูตรตามกระบวนงานวิจัย, การจัดองค์กร (Organizing) มีการปรับเปลี่ยนบุคลากรที่รับผิดชอบ ทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง, ภาวะผู้นำ (Leading) ผู้บริหารสถานศึกษา ขาดความรู้ในการได้มาของหลักสูตร, การควบคุม (Controlling) หลักสูตรไม่มีการประเมินก่อนนำมาใช้ 2) งานงบประมาณ ในการวางแผน (Planning) เป็นการบริหารงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน, การจัดองค์กร (Organizing) การจ่ายงบประมาณไม่สอดคล้องกับการดำเนินงาน, ภาวะผู้นำ (Leading) การบริหารงานงบประมาณผ่านองค์คณะบุคคล, การควบคุม (Controlling) มีการตรวจสอบ ควบคุมการใช้งบประมาณ 3) งานบุคลากร ในการวางแผน (Planning) แจ้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้มองภาพไปในทิศทางเดียวกัน, การจัดองค์กร (Organizing) ควรให้ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรแก่ครู, ภาวะผู้นำ (Leading) ควรให้มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม, การควบคุม (Controlling) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการประเมินการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง 4) งานบริหารทั่วไป ในการวางแผน (Planning) มีการวางโครงสร้าง เป้าประสงค์ขององค์กร, การจัดองค์กร (Organizing) การจัดระบบงาน มีการปรับเปลี่ยนภาระงานทุกปี ขาดการจัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้, ภาวะผู้นำ (Leading) มีการอำนวยความสะดวกในด้านทรัพยากร, การควบคุม (Controlling) โครงการหรือกิจกรรมเห็นถึงการใช้ทรัพยากรยังไม่คุ้มค่าคุ้มทุน ปัจจัยในการนำนโยบายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยที่มีผลในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และส่งผลต่อทุกกระบวนการดำเนินงาน ทั้ง 4 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านสถานศึกษา 2) ปัจจัยด้านกระบวนการ 3) ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) ปัจจัยในการบริหารฐานโรงเรียน แนวทางไปสู่ความสำเร็จในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Output) คือ แนวทางในการร่างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการประเมินรูปแบบในระดับท้องถิ่น และในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้จริง มีองค์ประกอบ ดังนี้ ปัจจัยนำเข้า ดังนี้ 1) POLICY คือ นโยบายตามโครงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) การบริหารจัดการ คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) ภาวะผู้นำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) 3) โครงสร้างงาน 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายงบประมาณ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 4) ปัจจัยด้านสถานศึกษา : Place of education ปัจจัยด้านกระบวนการ : Process ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม : Participation และปัจจัยด้านการบริหารฐานโรงเรียน : School base กระบวนการบริหารการจัดการ ได้นำปัจจัยนำเข้า ซึ่งมองเห็นภาพความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ส่งผลสู่เป้าหมายความสำเร็จในการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบ ที่มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกัน และมีขั้นตอนตามลำดับ ผ่าน PARTICIPATION POLICE SBMLD MODEL ดังนี้ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) ภาวะผู้นำ (Leading) การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (Information System) การควบคุม (Controlling) การประเมิน (Evaluation) และ การมีส่วนร่วม (Participation) ผลผลิต คือ สิ่งที่ได้รับ เมื่อนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาจะเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นรูปธรรม ดังนี้ 1) Local Product รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตอบสนองนโยบาย 2) Local Pattern เป็นแบบอย่างผ่านกระบวนการใช้ที่ถูกต้อง เมื่อนำไปใช้จะเกิดประโยชน์ได้ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและรับส่งพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). 2546.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. คู่มือประเมินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. 2558.
ธีระ รุญเจริญ. รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2550.
อุทัย บุญประเสริฐ. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา
ในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 2543.
Eisner, E. “Mechanism of F2F student support in Open and distance learning system : Indian
Fayol, H. General and industrial management. Washington, DC : Robert Brookings. 1949.
Keeves, Peter J. Model and Model Building. Educational Research, Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford: Pergamon Press. 1988.