การพัฒนาโปรแกรมตรวจให้คะแนนข้อสอบอัตนัยแบบอัตโนมัติด้วยวิธีการเทียบคำ
คำสำคัญ:
ตัดคำภาษาไทย, การแบ่งแยกคำ, ข้อสอบอัตนัย, ตรวจข้อสอบบทคัดย่อ
ข้อสอบอัตนัยเป็นวิธีวัดผลทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้สอบต้องเขียนบรรยายคำตอบ ผู้สอบต้องอาศัยความทักษะทางด้านความรู้ ความจำ และการวิเคราะห์ แต่ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกมีจำนวนจำกัด และไม่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ผู้วิจัยจึงมีแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมตรวจให้คะแนนข้อสอบอัตนัยแบบอัตโนมัติด้วยวิธีการเทียบคำ ซึ่งจะจัดทำเป็นต้นแบบของหน่วยงาน เพื่อใช้พัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนโดยเลือกปรับแต่งจากเทคนิค e-rater ที่ใช้งานกับภาษาอังกฤษให้สามารถใช้งานร่วมกับภาษาไทยที่ใช้การเปรียบเทียบคำสำคัญจากพจนานุกรม ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนากระบวนการให้มีระบบสามารถคาดคะเนความถูกต้องของคำศัพท์ และจำกัดการสืบค้นคำสำคัญเพียงคำถาม/คำตอบเฉลยเพื่อลดเวลาการค้นหา นอกจากนั้นในส่วนการประเมินผลคะแนนได้ใช้เทคนิค rubric assessment เพื่อลดข้อผิดพลาดในการให้คะแนน ผลการทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าความถูกต้อง ค่าร้อยละ 74.40, ค่าความครบถ้วนมีค่าร้อยละ 37.90 และวัดประสิทธิภาพมีค่าร้อยละ 54.50 ในส่วนความพึงพอใจ จากผู้เชี่ยวชาญพบว่าระดับพึงพอใจมาก ( x̄ = 4.11, S.D.= 0.48)
References
publicing Book.
Jerrams-Smith, J., Soh, V., & Callear D. (2001). Bridging gaps in computerized assessment of texts.
Proceedings of the International Conference on Advanced Learning Technologies, 139-140, IEEE.
Guilford, J.P. (1973). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book.
Gronlund, Norman E. (1976). Society in the Classroom. Harper New York: Macmillan.
Wichian Ketsingh. (1972). Principles of creating and analyzing. Bangkok: Odeon Publishing.
Boonsri Sisaart, Nipa Sripairoj And Nuch Wattana.(1985). Measurement and evaluation of education. Maha Sarakham: Preeda Printing.
Seatachai Jaihuek And Gp.Capt. Asst.Prof. Surasak Mungsing D.Eng. (2015). Development of Insurance Information System Quality. Journal National level 2015 "Technology for development National
College of Technology".