กระบวนการหนุนเสริมสมรรถนะการอ่านให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ธนพร หมูคำ
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

คำสำคัญ:

กระบวนการหนุนเสริมสมรรถนะการอ่าน

บทคัดย่อ

บทความ เรื่อง กระบวนการหนุนเสริมสมรรถนะการอ่านให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดลำปาง สังเคราะห์มาจากงานวิจัย เรื่อง “โครงการการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง” ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมหนุนเสริมด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้ต่อสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4–6 ในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นแกนประสานสัมพันธ์ภาคีเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพครูและมุ่งพัฒนาสมรรถนะการอ่านให้แก่นักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 เขต 2 และเขต 3 จำนวน 19 โรงเรียน และสังกัดเทศบาลตำบลสบปราบ 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบทดสอบวัดสมรรถนะการอ่านก่อนและหลังการพัฒนาหนุนเสริม กิจกรรมหนุนเสริมมี 2 ลักษณะ คือ หนุนเสริมศักยภาพครูด้วยการเข้าค่ายปฏิบัติการกิจกรรมการเรียนรู้จากเครือข่าย และกิจกรรม“ค่ายสายสัมพันธ์ อ่านเพื่อชีวิต พินิจธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” พัฒนาสมรรถนะการอ่านแก่นักเรียน วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการ เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ากระบวนการหนุนเสริมศักยภาพครูและการพัฒนานักเรียนภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน กระบวนการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะการอ่านมีกระบวนการวิพากษ์อย่างมีขั้นตอน ผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะการอ่านของนักเรียนเกือบทุกโรงเพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมหนุนเสริมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ แต่ระดับสมรรถนะการอ่านยังคงอยู่ในระดับต้องปรับปรุงแก้ไข

References

ชุติมา คำบุญชู. (2553). ก้าวสู่กระบวนการวิจัยด้วยพลังแห่งการอ่าน. ลำปาง : เอกสารประกอบการจัด
กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอ่าน โครงการวิจัยการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียน
ประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง.

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล.(2552). การศึกษาสำรวจโครงการและทุนในพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง.
ลำปาง : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไลและคณะ.(2555). การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6
ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้ จังหวัดลำปาง ภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่าย
เชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน (Local Learning Enrichment Network : LLEN). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, โครงการ PISA ประเทศไทย. (2552).ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA การอ่าน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย.(2552). การสัมมนานานาชาติเรื่องการรู้เรื่องการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2551). เรียนรู้คู่วิจัยในงานยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สถาบันรามจิตติ : การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูพี่เลี้ยงยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสามจังหวัดภาคใต้. (9-10 สิงหาคม 2551)
ณ โรงเรียนพัฒนาวิทยา จังหวัดยะลา.

Programme for International Student Assessment.(2003).The PISA 2003 assessment framework - mathematics. reading science and problem solving knowledge and skills. Paris : Organisation for Economic Co-operation and Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2018

How to Cite