ความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • สุนทร คล้ายอ่ำ

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้, ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา, ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาองค์กร แห่งการเรียนรู้ ของศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ประชากรได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.10) โดยเรียงลำดับระดับความเป็นไปได้ในการพัฒนา ดังนี้ ด้านโครงสร้างองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.39) ด้านกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.23) ด้านบรรยากาศเกื้อหนุนอยู่ในระดับมาก (µ=4.18) ด้านการประมวลผลอยู่ในระดับมาก (µ=4.08) ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาด (µ=3.97) ด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรอยู่ในระดับมาก (µ=3.97) และน้อยที่สุดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก (µ=3.81) ตามลำดับ

References

กรกช ชีวโรรส (2556). การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืดน้อย อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี

จำเรียง วัยวัฒน์ และเบญจมาศ อ่ำพันธุ์ (2540). วินัย 5 ประการ พื้นฐานองค์กรเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ชัยยนต์ เพาพาน (2559). การพัมนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียน : กรณีศึกษาเทศบาลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์.รายงานการวิจัย. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ทิพวรรณหล่อสุวรรณรัตน์ (2557). องค์การแห่งความรู้จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท แซท โฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.

สกล บุญสิน (2555). การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจการให้บริการ กรณีศึกษา บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารบริหารธุรกิจ, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรีย์มาศ สุขกสิ และวีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย (2557). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา. คณะคุรุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี

อัจฉรา เขื่อวิเศษ (2561). การบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. กศ.ม. มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา

Gephart, M. A.and Marsick.(1996). Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: Mc Grew – Hill.

Marquardt, M.& Reynolds, A. (1994). The Strategic Readiness: The Marking of the Learning Organization. San Francisco : Jossey-Bass

Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: Mc Grew – Hill.

Senge, Peter M. (1990): The Fifth Discipline Subtitle: The art & practice of the learning organization. San Francisco : Jossey-Bass

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-02-2019

How to Cite