ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณัชพล หลั่งนาค 0860253762
  • วัชรี มนัสสนิท
  • จริยา แก้วภักดี
  • อุดมศักดิ์ ปัญญาเข้ม
  • ชุมภูนุช ไชยชมภู

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, บัณฑิตสาขาบัญชี, สถานประกอบการ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงานในสถานประกอบการจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงาน และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงาน จำแนกตามลักษณะของสถานประกอบการ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ สถานประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 324 แห่ง โดยการวิเคราะห์อำนาจการทดสอบ (Power Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนได้ค่า  ครอนบาคแอลฟ่าเท่ากับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงรายมีระดับการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงานต่อปัจจัยทักษะการใช้โปรแกรมทางการบัญชี และความรู้ความสามารถในวิชาชีพการบัญชี ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความรู้ด้านกฎหมายทางการบัญชี คุณธรรมจริยธรรม และความรู้ทั่วไป มีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ส่วนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระดับการตัดสินใจในระดับปานกลาง

     สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงานโดยจำแนกตามลักษณะรูปแบบของสถานประกอบการที่แตกต่าง พบว่า รูปแบบธุรกิจของสถานประกอบการที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจรับบัณฑิตสาขาบัญชีเข้าทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 ได้แก่ 1) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3) บริษัทจำกัด และ 4) บริษัทมหาชนจำกัด โดยมีระดับการตัดสินใจแตกต่างในทุกปัจจัยคือ 1) ความรู้ความสามารถในวิชาชีพการบัญชี 2) ความรู้ทั่วไป 3) ความรู้ด้านกฎหมายทางการบัญชี และ 4) ทักษะการใช้โปรแกรมทางการบัญชี ยกเว้นคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กมลภู สันทะจักร์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2561, กันยายน-ธันวาคม). คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย.

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(3) : 771-790

กรทิพย์ จันทร์แจ้ง วันทนีย์ ภูมิภัทราคม และธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร. (2553, ตุลาคม 2552 – มกราคม).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกร้านนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี.

วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3(3) : 119-132.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว นิภาพร นุ่มนวล และเชิดพงษ์ ขาประดิษฐ์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(1) : 1-15.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: เอส อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2555

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่ง สุวรรณภูมิ. 5(1) : 496-507.

นันทวดี วุฒิกรณ์. (2551). คุณลักษณะของนักบัญชีพึงประสงค์ของสถานประกอบการต้องการในจังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงราย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

สรัชนุช บุญวุฒิ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. ปีที่ 9(1). หน้า 167-177.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก http://chiangrai.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id =432:-2561&catid =86:2011-10-11-07-23-41&Itemid=435.

โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite