- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงคอนสตรัคติวิสต์ในรายวิชาทัศนศิลป์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • โฉมวลี เจือวงษ์
  • รสสุคนธ์ มกรมณี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, คอนสตรัคติวิสต์, ทัศนศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงคอนสตรัคติวิสต์ในรายวิชาทัศนศิลป์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาคุณภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ฯ โดยพิจารณาจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนราชดำริ จำนวน 53 คน ที่เลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่เลือกกิจกรรมทัศนศิลป์เป็นกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มทดลองเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยดัชนีความสอดคล้อง  แบบประเมินคุณภาพด้วยมาตรประมาณค่า และแบบประเมินผลการเรียนรู้แบบรูบริค  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย คู่มือผู้สอนจำนวน  1 เล่ม ขนาดเอ5 พิมพ์สี่สี ความหนา 55 หน้า มี 3 องค์ประกอบคือ ปก คำชี้แจงสำหรับผู้สอน และแผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือผู้เรียนจำนวน  1 เล่ม ขนาดเอ5 พิมพ์สี่สี ความหนา 44 หน้า มี 7 องค์ประกอบคือ ปก คำชี้แจงสำหรับผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การปฐมนิเทศ กิจกรรมการเรียนรู้ และสรุปผลการเรียนรู้ ทั้งนี้ กิจกรรมการเรียนรู้ มี 6 กิจกรรม คือ จุดหรรษา อะไรเอ่ยเรียกว่าเส้น ฉันคือรูปร่างและรูปทรง สีพาเพลิน พื้นผิวของฉัน และฉันมีพื้นที่ว่าง แต่ละกิจกรรมใช้ขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคอนสตรัคติวิสต์จำนวน 5 ขั้นคือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ขั้นดำเนินกิจกรรมไตร่ตรอง ขั้นนำไปใช้ และขั้นประเมินผล เวลาที่ใช้เรียนรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 14 ชั่วโมง  2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพโดยรวมระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D.=0.47) 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 64.54)

References

กรรณิการ์ หาญพิทักษ์. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องรูปสามเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ชลบุรี: วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพk

กระทรวงศึกษาธิการ, (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2558). Active Learning แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://chitnarongactivelearning.blogspot.com

ฉัตรชัย ม่วงประเสริฐ. (2558). การสร้างชุดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กรณีศึกษา เรื่อง พื้นฐานระบบกลไกลทางแมคคาทรอนิกส์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8 (หน้า 69-74). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active learning. ข่าวสารวิชาการ. หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560 มกราคม 4). Active learning กำลังจะมาแต่ผล pisa ของไทยกำลังไปไม่กลับ. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/ news_414195

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปัญญาพร แพนดี (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เรื่อง การวาดภาพระบายสี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. นครสวรรค์: สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(2), 1-4.

วิภาวรรณ สุขสุวรรณ (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องสมการเชิงตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศศร เดชะกุล. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมทัศนศิลป์สร้างสรรค์แบบเทคนิคซินเนคติกส์สำหรับเด็กหญิงระดับชั้นประถมศึกษาของสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, PISA THAILAND. ( 2559 ธันวาคม 7). ผลการประเมิน PISA 2015. ข่าวสาร. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-8/

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรมคุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. ( 2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

เสนีย์ ศิริสวัสดิ์. (2557). การศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนปฏิบัติกีต้าร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

หทัยชนันบ์ กานต์การันยกุล. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการออกแบบทางศิลปะด้วยสมุดร่างภาพตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bonwell, C. C. and Eisen, J.A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington D.C.: School of Education and Human Development, George Washington University.

Frank, M. (2008). Active learning and its implementation for teacher. In Tomei, L.A. (Ed.). Encyclopedia of information technology curriculum integrate (pp. 1-8). Hershey, New York: Information Science Reference.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: Strategies for the college classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite