ภาพพจน์ : กลวิธีการใช้ภาษาในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 3
คำสำคัญ:
ภาพพจน์, พระราชนิพนธ์ร้อยกรอง, รัชกาลที่ 3บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องภาพพจน์:กลวิธีการใช้ภาษาในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพพจน์ซึ่งเป็นกลวิธีการใช้ภาษาในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 3 โดย มีวิธีการดำเนินการวิจัยคือการตรวจเอกสารจากแหล่งต่างๆ และใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์ภาพพจน์ ของราชบัณฑิตยสถานและของวิภา กงกะนันทน์ เป็นหลัก ซึ่งมีภาพพจน์ 13 ประเภท ผลการศึกษาพบว่าพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 3 มีการใช้ภาพพจน์ 7 ประเภท ได้แก่ อุปมา (Simile) สมพจนัย (Synecdoche) อติพจน์ (Hyperbole) ปฏิรูปพจน์ (Allusion) บุคลาธิษฐาน (Personification) อุทาหรณ์ (Analogy) และ ปฏิปุจฉา (Rhetorical question) ซึ่งภาพพจน์ประเภทอุปมา(Simile) พบมากที่สุด ส่วนภาพพจน์อีก 6 ประเภท ได้แก่ อุปลักษณ์(Metaphor) นามนัย (Metonymy) ปฏิวาทะ(Oxymoron) ปฏิภาคพจน์(Paradox) อาวัตพากย์ (Synesthesia) และอธิพจน์ (Overstatement) ไม่พบในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 3
References
กรมศิลปากร, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (2530). ประชุมพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ชวน เพชรแก้ว. (2524). การศึกษาวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ชำนาญ รอดเหตุภัย. ( 2522). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.
ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2543). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง เจริญจิตรกรรม.(2551). หลักการเขียนวิจารณ์วรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2525). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพมหานคร: วิชาการ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2535). ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทยประเภทต่างๆ. กรุงเทพมหานคร:
ราชบัณฑิตยสถาน.
_____________. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร:
นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
_____________.. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิภา กงกะนันทน์. (2533). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2525). วรรณคดีวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
