การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เรื่องการถนอมอาหารและ การแปรรูปอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเวียงชัยวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • กนกนภัส สีหราช วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, การพัฒนาทักษะอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่องการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ประเมินทักษะอาชีพของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเวียงชัยวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะอาชีพ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 91.57/86.15 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 12.93 และ18.07 ตามลำดับ 3. ทักษะอาชีพของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และ 4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก

References

ระทรวงศึกษาธิการ(2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ, (2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทสไทย.กรุงเทพมหานคร

กัญญาภัทร จำปาทอง. (2559). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนเรื่องทักษะอาชีพผ่านสื่อโทรทัศน์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทริ์น เอเชีย. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562

งามพิศ ศรีเฉลา และ สถาพร ขันโต. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานบ้านเรื่องการแปรรูปผลไม้ในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบโครงงาน,วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปี 4. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562

ติราณี สุพามาตย์ และคณะ. (2556). การเปรียบเทียบความรู้และทักษะการปฏิบัติ เรื่อง การเย็บของใช้ด้วยมือระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนครพนม, สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.tci-haijo.org/index.php/npuj/article/view/55151/45790/.

ธนพร สังฆมณี และ สุมนชาติ เจริญครบุรี. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชากรงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร. วารสารศึกษา, สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก file:///C:/Users/User/ Downloads /50959-Article%20Text-118106-1-10-20160309.pdf/.

นูรีฎา ดอเลาะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประครอง สอนกุลดี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชางานธุรกิจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนน้ำพองศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562, จาก file:///C:/Users/User/ Downloads/50548-Article%20Text-117250-1-10-20160308.pdf.

ระดุมพล พลซื่อ. (2558). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การเลี้ยงจิ้งหรีด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา. 12(), สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก file:///C:/Users/User/Downloads/59194-Article%20Text-138432-1-10-20160620.pdf/.หน้า 183

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite