การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักศึกษาครู วิทยาลัยนาฏศิลป
คำสำคัญ:
การรู้จักและเข้าใจตนเอง, กิจกรรมการเรียนรู้, นักศึกษาครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรู้จักและเข้าใจตนเอง และ 2) ศึกษาพัฒนาการการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักศึกษาครู วิทยาลัยนาฏศิลป ประชากรที่ผู้วิจัยในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลป ที่ลงทะเบียนในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน จำนวน 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้จักและเข้าใจตนเอง จำนวน 5 แผน และแบบวัดการรู้จักและเข้าใจตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยระดับการรู้จักและเข้าใจตนเองเท่ากับ 3.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และ 2) การรู้จักและเข้าใจตนเองของนักศึกษาครูมีพัฒนาการสูงขึ้น
References
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2551). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตน = learning: the treasure within. (ศรีน้อย โพวาทอง และคนอื่นๆ). กรุงเทพฯ: สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา. (2539)
ณัฎฐวีร์ นงนุช. (2552). ผลของกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
เทิดศักดิ์ เดชคง. (2542). ความฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษายุคใหม่. วารสารวิชาการ. 2(1): 63.
ธันยพร ทวีชัย. (2561). ผลการจัดกิจกรรมแนะแนว Self-understanding เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง ตามแนวทางการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีหน้าต่าง 4 บาน (The Johari Window) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562, จาก The Prince Royal's College : https://academic.prc.ac. th/TeacherResearch/ResearchDetail.php?ID=2177.
รุ่งทิวา โพธิ์ใต้. (2552). ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 32(3), 58.
วัชรินทร์ หนูสมตนและคณะ. (2555). ผลของรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ กิจกรรมแนะแนว เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้แห่งตนและพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักศึกษา. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สิริกร โตสติ. (2557). การสร้างเสริมการรู้จักตนเองเพื่อการพัฒนาตนเองของนักเรียน โดยใช้กระบวนการสืบสอบและการประเมินแบบชื่นชม. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(กรุงเทพมหานคร).
ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.