การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวชุมชน: กรณีศึกษาบ้านวังขรณ์ หมู่ 11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ สมหวัง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวชุมชน, ชุมชนท่องเที่ยว OTOP, นวัตวิถี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบทและศักยภาพของชุมชนที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่บ้านวังขรณ์ ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และ 2) จัดทำเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวบนอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังขรณ์กับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพด้านการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านวังขรณ์ หมู่ 11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี มีอยู่ในระดับมาก ผู้นำชุมชนและชาวบ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวและตัดสินใจร่วมกัน ได้รับการอบรมพัฒนาเรียนรู้จากสำนักงานพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะในเรื่อง ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ชาวบ้านมีความต้องการที่จะผลิตและพัฒนาคุณภาพของสินค้าชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต  สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวบนอัตลักษณ์ของตลาดจ้อกแจ้กชุมชนบ้านวังขรณ์ สามารถเชื่อมโยงได้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ แหล่งเตาน้ำแม่น้อย  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินทร์บุรี  วัดพระนอนจักรสีห์ อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน วัดพิกุลทอง วัดโพธิ์เก้าต้น และวัดอัมพวัน

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). เที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง ภาคกลาง. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://thai.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/741/-1489980 347.pdf

ข่าวสดออนไลน์. (2561). พช. เร่งขับเคลื่อน “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ชูนวัตกรรมผสมผสานกับวิถีชีวิต. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://www.khaosod.co. th/politics/news_1 036678

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). “OTOP นวัตวิถี” ดึงภูมิปัญญา-วิถีชีวิต เพิ่มรายได้ชุมชนยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1193695

บุณยสกฤษฏ์ อเนกสุข. (2557). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2561). การท่องเที่ยวชุมชน. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จากhttps://www.gsb.or.th/getattachment/36295a2d-169a-4bc4-8ecc-38d3769b1211/GR_report_travel_internet_detail.aspx

สมศักดิ์ พ่วงเอี่ยม. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 บ้านวังขรณ์ ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. สัมภาษณ์. 6 กรกฎาคม 2561.

สำนักข่าว ไทยไทม์. (2561). ททท.ชวนชิม ช้อป แช๊ะ แชร์ อาหารถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี ในกิจกรรม “ตะลุยกินอาหารถิ่นสิงห์บุรี : EAT LOCAL SINGBURI” สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก http://thaitimeonline.com/content0112076103/

สุชาติ ภาเจริญ. นายอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. สัมภาษณ์. 6 กรกฎาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2021

How to Cite