การพัฒนาหลักสูตรการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา สภาชัย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน, การบริบาลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุก่อนและหลังการใช้หลักสูตร และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ ประชากร ได้แก่ ผู้ที่กำลังศึกษาและผู้ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยการพยาบาลและหลักสูตรการบริบาลในสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้เรียนที่สมัครใจ เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านการบริบาลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น 2) หลักสูตรการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ และคู่มือการใช้หลักสูตร 3) แบบประเมินทักษะการฟัง และทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริบาลผู้สูงอายุมีสภาพปัญหา และมีความต้องการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน การทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะ ต่าง ๆ การสื่อสารกับผู้สูงอายุ หน้าที่ของผู้บริบาล และภาษาสุภาพในที่ทำงาน 2) หลักสูตรการฟังและ การพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) คะแนนความสามารถในการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). โอกาส ความท้าทายและอุปสรรคของธุรกิจนวดไทยในต่างประเทศ.สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://globt hailand.com/thailand_0030/

จริยานันท์ ฉันทะ. (2555). การพัฒนาบทเรียนการสอนภาษาที่เน้นการปฏิบัติงานด้านอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2557). การสร้างชุดการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาสำหรับผู้ถือถุงไม้กอล์ฟหรือแคดดี้. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.สืบค้นจาก Thai Digital Collection.

ทิแหล่ง เวือง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรภาษาเวียดนามเบื้องต้นเพื่อสื่อสาร. (การศึกษามหาบัณฑิต). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สืบค้นจาก Thai Digital Collection.

ศศิธ์อร บุญวุฒวิวัฒน์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย. (การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก Thai Digital Collection.

ศุภลักษณ์ วิริยะสุมนและคณะ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. (การศึกษามหาบัณฑิต ). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สืบค้นจากThai Digital Collection.

สกาวรัตน์ ศิริมา. (2562). คนทำงานต้องมีความสุขก่อน หัวใจบริบาลผู้สูงอายุญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562, จาก https://www.komchadluek.net/news/regional/394665

Statistics Bureau Ministry of Internal Affairs and Communications Japan. (2020). Statistics handbook of Japan. Japan : Statistics Bureau Ministry of Internal Affairs and Communications Japan. Retrieved 12 June 2021, From http://www.stat.go.jp/ english/ data/ handbook/pdf/2020all.pdf

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York : Harcourt Brace and World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021

How to Cite