การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
คำสำคัญ:
ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม โดยวิธีวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ จากนั้นนำมายกร่างและประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยใช้การจัดประชุมสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการทดลองใช้โดยนำไปใช้ในปีการศึกษา 2562 กับครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 21 คน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 1,372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสรุปข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มี 7 องค์ประกอบ เรียกว่า “SCCER-SN” ซึ่งโดยรวมมีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการทดลองใช้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมในปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 จำนวน 9.24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.33 และ (3) ผลการประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพอยู่ในระดับมา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ :กระทรวงฯ.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(1): 34-41.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู : กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี : M & N Design.
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสาร OJED. 9(3): 392-406.
โรงเรียนเทิงวิทยาคม. (2560). ผลการประเมินระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560. เชียงราย : ฝ่ายวิชาการโรงเรียนฯ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิริยะ วรายุ. (2559). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. (วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สุชีรา มะหิเรือง. (2560). โมเดลการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์. 29(2), 108-122.
อดิศักดิ์ มุ่งชู. (2560). แนวทางการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์.
DuFour, R. (2004). What is a Professional Learning Community?. Schools as Learning Communities. 8(61): 6-11.
Stoll, M. et. al, (2003). Professional Learning Community. New York : Open University Press.
Vescio, V. Ross, D. & Adams, A. (2008). A review of research on the impact of professional learning communities on teaching practice and student learning. Teaching and Teacher Education: An International Journal of Research and Studies. 24(1), 80-91.