The การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พรรณ เลิศเกษม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มณี จำปาแพง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

โมบายแอพพลิเคชัน, พนักงานโรงแรม, ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ, จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์เนื้อหาภาษาอังกฤษที่จะใช้สร้างแอพพลิเคชันในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันในการส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานของโรงแรมที่มีผู้เข้าพักหรือเข้ารับบริการเป็นชาวต่างชาติ   ร้อยละ 50 ขึ้นไป จำนวน 5 แห่ง รวมพนักงานทั้งสิ้น164 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แบบประเมินเนื้อหาภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานบริการของพนักงานโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โมบายแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย

          ผลการสังเคราะห์เนื้อหาภาษาอังกฤษที่จะใช้สร้างแอพพลิเคชันในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย พบว่ามีการสังเคราะห์เนื้อหาออกเป็น 4 แผนกสำหรับพนักงานในแผนกหลักๆ ของโรงแรมอันได้แก่ (1) แผนกบริการส่วนหน้า (2) แผนกรับจองห้องพัก (3) แผนกห้องอาหาร (4) แผนกงานสปา เนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลในแอปพลิเคชัน มีดังนี้ (1) การทักทายแขก (2) การพูดจาทักทายในหัวข้อทั่วไป (3) การพูดเสนอความช่วยเหลือ (4) การพูดตอบต่อสิ่งที่ลูกค้าร้องขอ (5) การจัดการปัญหาและข้อร้องเรียน (6) การอำลา

          ผลการประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในงานบริการสำหรับพนักงานโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.83) เมื่อพิจารณาผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอพพลิเคชันในส่วนของแผนกต่างๆ พบว่าแผนกงานสปามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.33, S.D. = 0.57) ส่วนแผนกที่เหลือมีความพึงพอใจในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ แผนกบริการส่วนหน้า ( = 4.15, S.D. = 0.66) แผนกรับจองห้องพัก ( = 4.02, S.D. = 0.62) แผนกห้องอาหาร ( = 4.01, S.D. = 0.77)

 

 



References

จิตรลดา รวมพันธุ์ และสุทัศน์ นาคจั่น. (2560). การพัฒนาคู่มือการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการ

อาหารและเครื่องดื่มบนแอพพลิเคชันเฟสบุ๊ค สำหรับนักศึกษาสาขางานโรงแรม. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์,ปีที่ 19 (1).

ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่องภาษา

อังกฤษสำหรับ นักสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา.

นภาภรณ์ ธัญญา. (2552). การพัฒนาบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้

กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ/สโคป สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเบญจมราชา

ลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี

เศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.posttoday.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022

How to Cite