ต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ต้นทุน, ผลตอบแทน, จังหวัดน่านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบ้านปางปุก ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด 78 ครัวเรือน จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยใช้สถิติเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนน้อยกว่า 50,000 บาท/ปี และมีรายได้น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี ส่วนผลตอบแทนที่เกษตรได้รับทั้งหมดเท่ากับ 10,599.94 บาท/ไร่ แต่มีต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 6,850.96 บาท/ไร่ ทำให้เกษตรกรมีกำไรสุทธิที่ค่อนข้างต่ำ เท่ากับ 3,748.98 บาท/ไร่ ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรจึงเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร
References
กุลโรจน์ สมโสภา, รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์, จรัณธร บุญญานุภาพ และเสวียน เปรมประสิทธิ์. (2559). การใช้ประโยชน์ที่ดินและรูปแบบการปลูกพืชที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชันที่จังหวัดน่าน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 หน้า. พิษณุโลก .: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กุศล ทองงาม, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ และ ณฐภัทร สุวรรณโฉม. (2557). ระบบพืช และผลตอบแทน เชิงเศรษฐกิจจากการผลิตพืชบนพื้นที่สูง จังหวัดน่าน. วารสารแก่นเกษตร, 9(2), 272 – 278.
เขมรัฐ เถลิงศรี และ สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. (2555). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลไกสู่ความเหลื่อมล้ำในระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ.เวียงสา จ.น่าน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โครงการขยายผลโครงการหลวงถ้ำเวียงแก. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. น่าน : โครงการขยายผลโครงการหลวงถ้ำเวียงแก.
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก. (2563). รายได้. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://web2012.hrdi.or.th/xtrp/develop/income/323
จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, พรสิริ สืบพงษ์สังข์, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ และ พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์. (2558). การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง. : .
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2560). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกง่าย ตลาดต้องการมาก. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก https://www.technologychaoban.com/news-slide/article_5225
นพดล คำเขื่อน. สัมภาษณ์. ผู้ใหญ่บ้านปางปุก. 7 กรกฎาคม 2560.
พิชยพิมพ์ คำเพียร. (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สมศักดิ์ ปั้นลาย. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. (การค้นคว้าปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุพิชชา โชติกำจร. (2564). การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 317 – 330.
สำนักข่าวอิสรา. (2560). ภาคผนวก 8 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก http://www.isranews.org/about-us/download/466/23923/18.html