การสร้างและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน S-P-A เพื่อส่งเสริมการสื่อสาร ภาษาจีนสำหรับการให้บริการของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
โมบายแอปพลิเคชัน, ภาษาจีน, นวดเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง พัฒนา และหาประสิทธิภาพต้นแบบโมบายแอปพลิเคชัน S-P-A เพื่อส่งเสริมการสื่อสารภาษาจีนสำหรับการให้บริการของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน แต่มีข้อจำกัดด้านสื่อ การเรียนรู้และเวลา ผู้วิจัยจึงสร้างและพัฒนาต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันที่เน้นฝึกทักษะการฟังและการพูดผ่านเนื้อหาที่ครอบคลุมขั้นตอนการให้บริการ ผลการทดลองใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยครั้งที่ 2 ของทั้งทักษะการฟังและการพูดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีผลการประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก
References
Hsiang Yun Huang และคณะ. (2561).การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสารสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม และการประเมินผลการนำไปใช้. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10 (2). 253-263.
กนกวรรณ สังขกร และทัศนีย์ กระจ่างโฉม. (2562). เจาะลึกพฤติกรรมและความต้องการนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในพื้นที่ล้านนา 8 จังหวัด ภายใต้โครงการหน้าต่างการท่องเที่ยวสู่ล้านา. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จากhttp://www.sri.cmu.ac.th/~ctrd/index.php?p=d3d9446802a44259755d38e6d163e820&id=105
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560-2569). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2561, จาก https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=765
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2561, จาก http://mots.go.th/more_news.php?cid=465&filename=index.
กัลยา พรหมวัชรานนท์, และพรรษกร ชาตรีภิญโญ. (2561). การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับตำรวจจราจรในภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 35 (1), 163-164.
คุณานนท์ มารยาท. (2557). แอปพลิเคชันเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.
ชุติมา อ่างทอง. (2560). การใช้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้ให้บริการธุรกิจสปาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1249-1258.
ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
พัทน์นลิน กันตะบุตร. (2556). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพูดเพื่อการสื่อสารในการเรียนการสอนแบบฟัง-พูดเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความรู้ทางวัฒนธรรมของบุคลากรนวดแผนไทย ณ ทัณฑสถานหญิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 14 (2). 166–191.
พิชัย แก้งบุตร. (2563).ความพร้อมด้านภาษาจีนของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับ MICE CITY : การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17 (1). 89.
มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. (2551). คู่มือการนวดไทยในการสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
วิชัย อึงพินิจพงศ์. (2551). การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมยศ จันทร์บุญ นิรัตน์ ทองขาว สุริยา เกษตรสุขถาวร พิชญ์ธัชกิต ธนวัฒน์โอภาส. (2562). การสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารภาษาจีนเบื้องต้นของผู้ประกอบการอิสระในเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รองรับการเป็นไทยแลนด์ 4.0. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11 (3). 227-284.
สมยศ จันทร์บุญ นิรัตน์ ทองขาว. (2562). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารด้านการขายสินค้าของผู้ประกอบการในพื้นที่วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการท่องเที่ยวกับมนุษยศาสตร์ครั้งที่ 1 การท่องเที่ยวกับมนุษยศาสตร์: การท่องเที่ยวในยุคเปลี่ยนผ่าน. 438-463.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.nstda.or.th/th/publication/11247-national-economic-social-development-plan-12