การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • เตชินี ทิมเจริญ Faculty of Education, Chiang Mai University
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ทักษะการทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาระดับทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้กระบวนวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 ห้องเรียน จำนวน 22 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียน และแบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า เป็นกระบวนการที่พัฒนาและส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียน สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้

          2) การศึกษาผลการเรียนก่อนและหลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 .

          3) ระดับทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 อยู่ในระดับมาก และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เท่ากับ 0.83

 

 

 

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา วัฒนายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนพรการพิมพ์.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สํานักงาน. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อม
รับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์ดี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีและ สื่อสาร
การศึกษา หน่วยที่ 1 – 5. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทวีศักดิ์ ไชยมาโย. (2537). คู่มือปฏิบัติการจัดทำแผนการสอน. นครพนม: สวัณพา.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเพื่อการวิจัยฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Microsoft Excel. เชียงราย:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2541). แนวคิดและแนวทางของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง.
กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2552). เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
วัฒนา ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นอ้อ.
วันเพ็ญ จันทร์เจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สกลนคร: ฝ่ายโครงการเอกสารและตำรา
สถาบันราชภัฎสกลนคร.
สุวิทย์ มูลคํา. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อี เค บุ๊คส์.
สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุพล วังสินธุ์. (2543). การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ. วารสารวิชาการ. 3 (เมษายน 2543) : หน้า 9.
สงบ ลักษณะ. (2533). แนวการทำแผนการสอน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
สำลี รักสุทธี. (2544). เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนและเขียนแผนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เดือนฉาย ต๊ะมา. (2556). การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม เรื่อง พลเมืองดีตามวิถี
ประชาธิปไตย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่อ้อใน จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้า
แบบอิสระ, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพร ยมรัตน์. (2546). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคปริศนาความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครวรรค์.
พิชญา สกุลวิทย์. (2551). การพัฒนาทักษะการฟัง การดู และการพูดภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้
กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุจี เฉลิมสุข (2556). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มของ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ, ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิภา เพ็ชรเจริญรัตน์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาจิตวิทยาการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
ปฐมวัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 1.
การค้นคว้าแบบอิสระ, ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อทิติยา สวยรูป. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องคอมพิวเตอร์
เบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD.
การค้นคว้าแบบอิสระ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรพรรณ วังซ้าย. (2555). การใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความรู้ทางหลักภาษาไทยของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022

How to Cite