กลยุทธ์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ ขูรีรัง
  • พีรญา ชื่นวงศ์

คำสำคัญ:

ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาศักยภาพและกำหนดกลยุทธ์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน และชุมชน จำนวน 6 คน ทำการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT และกำหนดกลยุทธ์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ TOWS Matrix

               ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ เพียงแต่ยังขาดการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จากการศึกษาศักยภาพสามารถนำมากำหนดกลยุทธ์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ได้ดังนี้ 1. กลยุทธ์เชิงรุก (SO) การจัดทำสื่อ กิจกรรม และการประชาสัมพันธ์ 2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเชื่อมโยง 3) กลยุทธ์เชิงรับ (WO) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว 4) กลยุทธ์              เชิงปรับปรุง (WT) จัดกิจกรรมกระตุ้นคนในชุมชนให้ตระหนักถึงปัญหา มีการประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาระบบความปลอดภัยและสุขอนามัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2561). การถอดบทเรียนภายหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review

: AAR) การดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัด

เชียงราย. http://ns.dla.go.th/upload/ebook/column/2019/3/2255_6062.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564.

https://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว. https://intelligencecenter.tat.or.th/?lang=th.

คุณัญญา เบญจวรรณ. (2560). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลก เพื่อ

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตภาคเหนือตอนล่าง. (บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลพระนคร. ThaiLIS Digital Collection.

ทิพาพร ไตรบรรณ์. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา หมู่บ้าน

อรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. dspace.bu.ac.th

ธนาวรรณ พิณะเวศน์. (2557). การพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

จังหวัดนครพนม. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ThaiLIS Digital Collection.

เบญจวรรณ จันทร์แก้ว. (2558). การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายแดนอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

(บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ThaiLIS Digital Collection.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2557). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงรุกในแหล่งท่องเที่ยวที่

มีบทเรียนจาก ความสูญเสีย อุบัติภัย และมรณภัย ในภูมิภาคตะวันตก ประเทศไทย. (ปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. ThaiLIS Digital Collection.

วรรณภา แตกปัญญา. (2559). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ThaiLIS Digital Collection.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). การประชุมคณะรัฐมนตรี. การส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ใน

พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และการใช้มิติทางวัฒนธรรมสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศ

ผลการดำเนินงานกรณี ถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา. (2561). แผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ตำบลโป่งผา พ.ศ. 2561-

http://www.pongpha.go.th/filesAttach/loadfile/1561364134.pdf

เอกวินิต พรหมรักษา. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง .กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษร

เจริญทัศน์.

Cetin, M. (2015). Evaluation of the sustainable tourism potential of a protected area for landscape

planning: a case study of the ancient city of Pompeipolis in Kastamonu. International

Journal of Sustainable Development & World Ecology.

Weihrich, H. (1982). Essentials of Management. Singapore: Mc Graw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2021

How to Cite