ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนผ่านสำนวนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีโบราณของจีน
คำสำคัญ:
สำนวนจีน, เครื่องดนตรีจีน, วิถีชีวิตชาวจีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนผ่านสำนวนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีโบราณของจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนของเครื่องดนตรีจีนกับวิถีชีวิตชาวจีนที่ปรากฏในสำนวนจีน โดยศึกษาสำนวนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีโบราณของจีน จำนวนทั้งสิ้น 57 สำนวนจากพจนานุกรมสำนวนจีน《成语大词典》ผลการศึกษา พบว่า เครื่องดนตรีจีนประเภทต่าง ๆ มีภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนที่เหมือนและแตกต่างกันดังนี้ 1. ระฆังที่ใช้ในสำนวนจีนใช้ในการเปรียบเปรยถึง (1) บรรยากาศ สถานะทางสังคม (2) เสียงพูดที่ดังกังวาน วาจาที่ไพเราะ (3) คนที่มีความสามารถ (4) วัยชรา และ (5) การสำนึกตัว 2. ชิ่งที่ใช้ในสำนวนจีนใช้ในการเปรียบเปรยถึง (1) ความว่างเปล่า (2) คนที่มีความรู้มาก 3.กลองที่ใช้ในสำนวนจีนใช้ในการเปรียบเปรยถึง (1) เสียงดังและบรรยากาศสนุกสนาน (2) การปลุกใจ การสู้รบ กำลังในการสู้รบ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ (3) การถือเคร่งในประเพณีเดิม (4) การแสดงฝีมือต่อหน้าผู้มีฝีมือชั้นเซียน (5) การมีอำนาจ มีอิทธิพลกว้างขวาง (6) การวิพากษ์วิจารณ์ การพูด (7) การเริ่มต้น 4.ฉิน เซ่อ ผีผาที่ใช้ในสำนวนจีนมักใช้ในการเปรียบเปรยถึง (1) การบรรเลงดนตรี (2) ความสามารถด้านศิลปะ และลักษณะของปัญญาชน (3) การระลึก ความเศร้าโศก (4) ความเรียบง่าย ความซื่อตรง (5) ความรัก ความสัมพันธ์ของสามีภรรยา (6) สิ่งของล้ำค่า 5.เซิงและอี๋ว์ที่ใช้ในสำนวนจีนใช้ในการเปรียบเปรยถึง (1) การบรรเลงดนตรี เสียงดัง บรรยากาศสนุกสนาน (2) ความรักความสัมพันธ์ 6.ขลุ่ยที่ใช้ในสำนวนจีนใช้ในการเปรียบเปรยถึงเครื่องดนตรี การบรรเลงดนตรี โดยการศึกษาภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนผ่านเครื่องดนตรีจีนนี้ ทำให้ทราบถึงความหมายแฝงที่อยู่ในเครื่องดนตรีจีนที่สะท้อนสังคมจีนในด้านต่าง ๆ
References
กณิกนันต์ โยธานะ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนที่มีคำว่า “chī”กับสำนวนไทยที่มีคำว่า “กิน”. วารสารจีน
ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6 (2), 145-181.
กัลยาณี กฤตโตปการกิต. (2563). สำนวนจีน : ภาพสะท้อนโลกทัศน์ของชาวจีนต่อสตรีจีน. วารสารจีนศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 13 (1), 272-301.
เกรียงไกร กองเส็ง. (2561). “ผี” ในสำนวนจีน : โลกทัศน์ของชาวจีนต่อมนุษย์และธรรมชาติ. มังรายสาร, 6 (2), 1-15.
จาง จยา (Zhang Jia). (2563). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับร่างกาย. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13 (2), 99-110.
ไตรทิพย์สุดา เสนาธรรม และ ศันสนีย์ เอกอัจฉริยา. (2562). มโนอุปลักษณ์[หน้า]ในสำนวนจีน. วารสารจีนศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12 (1), 47-69.
ธัญญารัตน์ มะลาศรี. (2562). เปรียบเทียบทัศนคติที่เกี่ยวกับความรักและการแต่งงาน กรณีศึกษาสำนวนสุภาษิตไทย-จีน.
วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7 (2), 135-144.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2561). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพ: บริษัท รวมสาสน์จำกัด.
เมิ่งเตี๋ย หลี่, สนิท สัตโยภาส และ ขวัญใจ กิชชาลารัตน์. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับ
สี. มังรายสาร, 16 (1), 27-36.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550).โลกทัศน์ ที่มาข้อมูลhttp://legacy.orst.go.th/?knowledges=โลกทัศน์-๑๐-กรกฎาคม-
๒๕๕๐ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนทางวัฒนธรรม ผ่านสำนวนไทย จีน และอังกฤษ.
วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5 (1), 59-82.
สุภัชญา สวัสดิ์โยธิน. (2562). สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีคำว่า “งู”. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8 (2), 100-
สุวรรณา ตั้งทีฑะรักษ์ และ ศิริวรรณ แสนยากุล ตัน. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบโลกทัศน์ด้านคุณธรรม จริยธรรมของคน
ไทย และคนจีนจากสำนวน. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (2), 63-74.
成语大辞典编委会 (Cheng Yu Da Cidian Editorial Committee). (2017). 《成语大词典》(最新修
订版彩色版)(พจนานุกรมสำนวนจีน. ฉบับใหม่ล่าสุด พิมพ์สี). 北京:商务印书馆。
程裕祯 (Cheng Yuzhen). (2007). 中国文化要略,北京:外语教学与研究出版社。
鲁松 (Lu Song). (2021). 中国传统音乐中乐器与器乐研究的“接通”——基于乐人、乐事、乐技而论.
歌海,2021 (1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 30-06-2022 (2)
- 01-07-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.