ปัจจัยพยากรณ์การรังแกกันบนสื่อสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เสริมศิริ นิลดำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กรกนก นิลดำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กษิดิศ ใจผาวัง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิเวศ จีนะบุญเรือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การรังแกกัน สื่อสังคม นักศึกษาระดับปริญญาตรี เชียงราย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรังแกกันบนสื่อสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงราย ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย 4 สถาบัน จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบจัดกลุ่มตามลำดับชั้น (Multistage Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์อำนาจจำแนกด้วยค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรพยากรณ์การรังแกกันบนสื่อสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์การรังแกกันบนสื่อสังคม สิ่งแวดล้อมในการใช้สื่อ ความสัมพันธ์กับเพื่อน และการเปิดเผยตนเอง  ขณะที่ตัวแปรเพศ สาขาที่ศึกษา การใช้งานแอปพลิเคชั่น และวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อ เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการรังแกกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

จิรดา มหาเจริญ. (2547). การศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบของการเปิดรับสื่อเกมออนไลน์ของมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ณัฐรัชต์ สาเมาะ. (2556). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรั้งแกในพื้นที่ไซเบอร์. ศิลปศาสตร์
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ตะวันเศรษฐ์ เซ็นนันท์. (2549). พฤติกรรมและผลกระทบของการเสพติดเกมออนไลน์ ของกลุ่มผู้เล่นเกมในระดับนักเรียนนักศึกษา. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
ธันยากร ตุดเกื้อ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นันทนัช สงศิริ. (2553). ลักษณะส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลบริบทของครอบครัวและพฤติกรรมการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ปริณดา เริงศักดิ์. (2557). การเปิดเผยตนเองกับสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562, จาก irid2.bu.ac.th/old/research_db/re_detail.php?no_id=1638.
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลัดดาวรรณ สุวรรณเวก. (2555). พฤติกรรมการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์ และพิมผกา รานินพงศ์. (2558). สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(2), 128-144.
ศมพรัตน์ ชุนทิพย์ กานดา จันทร์แย้ม และช่อลดา พันธุเสนา. (2553). ผลกระทบของการเล่นเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหารุนแรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าว: กรณีศึกษานักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศิลปะศาสตร์, 2(1), 61-74.
ศรัญญา อิชิดะ. (2556). การศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 211-232.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). การสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562 จาก https://www.thumbsup.in.th/thailand-internet-user-profile-2018
Guo, Siying. (2016). A Meta Analysis of the Predictors of Cyberbullying Perpetration and Victimization. Psychology in the Schools. 53(4). 432-543
Kwan, G. C. E., and Skoric, M. M. (2013). Facebook Bullying: An extension of battles in School. Computer in Human Behavior, 29(1), 16-25.
Tantaphalin Piyapot. (2008). An Online Collaborative Refection Learning Model with Case Study to Enhance Cyber Bullying Awareness of Pre-service Teachers. Retrieved 03 16, 2018, from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/
Van Geel, M., Vedder, P., and Tanilon, J. (2014). Ralationship between Peer Victimization, Cyberbullying and Suicide in Children and Adolescents: A Meta Analysis. JAMA Pediatrics, 168(5), 435-422.
Young, K.S. (2004). Internet Addiction: A New Clinical Phenomenon and Its Consequences. American Behavior Science, 48, 402-415.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2022

How to Cite