การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โรงเรียนจัดการเรียนรวม

ผู้แต่ง

  • ยุพิน บุญประเสริฐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

หลักสูตรฐานสมรรถนะ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้, โรงเรียนจัดการเรียนรวม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนา  หลักสูตรฐานสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โรงเรียนจัดการเรียนรวมและ 2) เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพของหลักสูตรกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 129 คน ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 129 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 268 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามและแบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพปัจจุบัน ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอ ยังขาดจิตวิทยาการดูแลนักเรียน การใช้สื่อ เทคนิคการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผล ความต้องการคือสมรรถนะ ด้านความรู้ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
  2. หลักสูตรประกอบด้วย 1) เหตุผลและความจำเป็น 2) วิสัยทัศน์ 3) จุดมุ่งหมาย 4) หลักการ 5) สมรรถนะที่มุ่งเน้น 6) โครงสร้าง 7) เนื้อหา 8) แนวการจัดกิจกรรม 9) สื่อ และแหล่งเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล และมีเนื้อหาในการพัฒนาครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 9 เรื่อง และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ระดับคุณภาพมากที่สุด สามารถจำแนกตามรายการดังนี้ องค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ สมรรถนะด้านความรู้มีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้ สมรรถนะด้านทักษะมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ สมรรถนะด้านคุณลักษณะมีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้ คู่มือประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับคุณภาพมากที่สุด

References

Buasri, T. (1998). Curriculum Theory: Design and Development. (2nd ed.). Pattanasuksa.

Chomkai, P. Singlop ,S. and Thongson, P. (2019) The Development of a Competency-Based

Curriculum on Characteristics of Graduate Practitioners at Rajamangala University

of Technology. Journal of Education Naresuan University, 21(2), 189-200.

Kaewmanee, J. (2013). A Study of Problems of Inclusive Learning Management in Schools Under the Office of Secondary Education Service Area 1. [Master’s Thesis]. Ramkhamhaeng University.

Kornkan,W. (2017). Training curriculum development to enhance learning management

competency according to The real situation of teachers elementary school under the jurisdiction of the Educational Service Area Office Sakon Nakhon Primary School, Area 1. [PhD Thesis]. Sakon Nakhon Rajabhat University.

Nakmaung M. (2009). A model for developing the competency of teachers in basic education institutions. [PhD Thesis]. Naresuan University.

Office of the Basic Education Commission, (2016). Four-year government action plan (2012-2015).

The Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.

Pahe. S. (2013). The Classroom Turns the Way: A New Dimensional Classroom in the 21st Century.

http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf.

Pattarakornnan, N. (2016). Science and art of teaching adults. Journal of Education Studies, 14(2), 40-53.

Poompanit, S. (2017). Development of curriculum for learning management design competency using guidance and mentoring processes For teachers under local government organizations. Journal of Education Studies Naresuan University, 21(1), 261-276.

Rattanaubol. A. (2008). Development of learning and activities for adults. [Unpublished doctoral

dissertation]. Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Saylor, J. G., Alexander, W. M, & Lewis, A. J. (1974). Curriculum planning for better teaching and learning.

(4thed.). Rinehart and Winston.

Sitthit. W. (2017). Development of a Training Curriculum to Enhance Competency in Constructivist-Based

Learning Management for Teachers under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office, District 2. [Unpublished doctoral dissertation]. Sakon Nakhon Rajabhat University.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. Harcourt, Brace and World, Inc.

Thampoonpisai, R. (2013). Conditions of problems and guidelines for co-educational management in core co-educational schools Under the Office of Primary Educational Service Area, Narathiwat. [Master’s Thesis]. Songkhla Rajabhat University.

Tyler, R.W. (1971). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago Press.

Utaranan, S. (1989). Fundamentals and principles of curriculum development. Chulalongkorn University

Printing House.

การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โรงเรียนจัดการเรียนรวม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2022

How to Cite