รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ปุณณัตถ์ ไชยคำ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพ, ครูและบุคลากรทางการศึกษา, โรงเรียนในสังกัดกองการศึกษา, หน่วยศึกษานิเทศก์, เทศบาลเมืองพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพ  สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา ที่ดำเนินการใผ่านการมีส่วนร่วมเกิดเป็นรูปธรรม ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 ศึกษาสภาพการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพ สู่การปฏิบัติ พบว่า ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน พบว่า ครูผู้สอนจัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมผู้เรียนได้ดี แต่พร่องการชี้แนะผู้เรียนให้แสวงหาความรู้การค้นพบคำตอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญการสอน แต่พร่องการออกแบบที่สอดคล้องสมรรถนะของผู้เรียน ด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า พัฒนาผู้เรียนได้ตามสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แต่พร่องการวัดและประเมินผลที่ครอบคลุม วัตถุประสงค์ที่ 2 ศึกษาภารกิจหลักในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพ สู่การปฏิบัติ พบว่า ภาพรวม ส่งผลระดับมากที่สุด วัตถุประสงค์ที่ 3 พัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพ สู่การปฏิบัติมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คู่มือ ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวคิดการนิเทศ ส่วนที่ 3 เกณฑ์ประเมินการนิเทศ ส่วนที่ 4 ดำเนินการตามรูปแบบ คือ Study : การเรียนรู้รอบด้าน, Plan : วางแผนแบบมีส่วนร่วม, Integration : บูรณาการ, Develop : พัฒนา ตามพระราชดำรัสรัชกาลที่ 9 “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”, Evaluate : แบบประเมินการนิเทศ และ R : Report : รายงานผ่านการสะท้อนผลของคณะกรรมการนิเทศภายใน ส่วนที่ 5 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ส่วนที่ 6 ส่วนประกอบท้าย คือ เอกสารอ้างอิง พบว่า มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ครอบคลุม นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

Department of Local Administration. (2015). Handbook Assessing School-based Educational Administration for Local Development. Department of Local Administration.

Government Teacher and Educational Personnel Act, B.E. 2547. (2004). Government gazette. Volume

, Special Section 79a.

Ministry of Education. (1999). National Education Act B.E. 2545 (2nd Ed.). https://www.bic.moe.go.th/images/

stories/5Porobor._2542pdf.pdf

Ministry of Education. (2004). Position standards and academic standing standards of government

teachers and educational personnel. Office of the Teacher Civil Service and Educational

Personnel Commission.

Srisa-ard, B. (2013). Introduction to Research. 9th Edition. Suriyasarn.

รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างห้องเรียนคุณภาพสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2022

How to Cite