การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ:
รูปแบบการสอน, ความสุขในการเรียน, จิตตปัญญาศึกษา, การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียนโดยใช้ แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านโกรกลึก ศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทักษิณ-เด่นชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุข แผนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุข และมาตรวัดความสุขในการเรียน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบที่เน้นการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ พัฒนาความคิดของตนเอง ตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ภายใต้แนวคิด จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนมี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างความตระหนัก จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ขั้นออกแบบหาคำตอบ ขั้นสนุกกับการหาคำตอบ ขั้นตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและสมาชิก ขั้นสะท้อนคิด และขั้นสรุปผลการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ผลการใช้รูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นพบว่าความสุขในการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสุข สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.