การเผยแพร่ศาสตร์พระราชาผ่านสื่อมวลชนกับความเข้าใจและการยอมรับ ต่อศาสตร์พระราชาของประชาชนในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กรกนก นิลดำ ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การเผยแพร่, ความเข้าใจและการยอมรับ, ศาสตร์พระราชา, สื่อมวลชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเผยแพร่เนื้อหาของศาสตร์พระราชาของสื่อมวลชนจังหวัดเชียงราย ศึกษาระดับความเข้าใจ และการยอมรับและการนำเอาศาสตร์พระราชาไปใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในจังหวัดเชียงราย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบด้วยสื่อหนังสือพิมพ์และวิทยุกระจายเสียง แนวการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า การเผยแพร่เนื้อหาของแนวคิดศาสตร์พระราชาของสื่อมวลชนได้นำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้วยการนำเสนอกิจกรรมต่างๆ หลากหลายโครงการ เช่น  การรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ โครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิติทางวัฒนธรรม-ศาสนา นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์พระราชา การช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 และเนื้อหาที่อธิบายขยายความแนวคิดศาสตร์พระราชา ส่วนระดับความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อแนวคิดศาสตร์พระราชาในภาพรวมมีความรู้ความเข้าใจมาก โดยเฉพาะ 1) การยึดหลักความมีเหตุผล พอประมาณและพอดี 2) มีภูมิคุ้มกันในตนเอง และ 3) การพึ่งตนเองในชีวิตประจำวัน รู้จักเก็บออม แบ่งปันกับผู้คนรอบข้าง รวมถึงระดับการยอมรับและการนำเอาแนวคิดศาสตร์พระราชาไปใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะ 1) การยอมรับในการประกอบอาชีพควรยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต และ 2) การเสริมสร้างให้คนไทยมีพื้นฐานทางจิตใจที่มีคุณธรรม ส่วนการนำแนวคิดศาสตร์พระราชาไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะ 1) การประกอบธุรกิจจะคำนึงถึงผลกำไร พนักงาน และลูกค้ามากที่สุด 2) การประกอบธุรกิจจะพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ปรับปรุงสินค้าและคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

References

Bloom, Benjamin., Thomas, J., and Madus, G. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: MacGraw-Hill Book Company.

Boonlert, Supadhiloke. (2008). Participatory communication and sufficiency economy in Thailand. Journal of Global Communication, 1(2).

Chamnancha, C. (2004). The Sufficiency Economy Concept: Study the Spreading Procedure in the Thai Newspaper During 1997 -2002. [Bachelor of Mass Communication]. Thammasat University.

Economy among College Students in the Bangkok Metropolitan. BU ACADEMIC REVIEW. 15(1): 137-155.

Jariya, S. (2005). Adoption of sufficiency economy for living by the farmers in the Bann Lummakham Community, Tambon Nong Mai Khaen, Amphoe Plaeng Yao, Chachoengsao [Master of Education]. Kasetsart University.

Lasswell, H. (1948). The Structure and Function of Communication, In Society, The Communication of Ideals. Lyman ed, New York: Harper and Row Publishers.

Phonthip, Y. Suthida, S. and Thipwan, S. (2003). Agricultural development communication for new theory concept of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Phrakhru Wibunsilaprot and Phramaha Mit Thitapanyo. (2019). The King’s Philosophy with the Self-reliant. Dhammathas Academic Journal, 19(4). 165-175.

Pratya, P (2018). Encyclopaedia. Bangkok: Satapornbooks.

Rogers, Everett. M. (1995). Diffusion of Innovations. Fourth edition. New York, NY: The Free Press.

Royal Project. (2010). The King’s Philosophy. Retrieved 02 20, 2021, from https://shorturl.asia/ArTpx

Royal Projects Development Board. (2007). Sufficiency Economy Philosophy Points to a Way of life. Bangkok: Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB).

. (2008). Philosophy of sufficiency economy in the Development Study Center due to the Royal Projects. Bangkok: AROON KARNPIM LIMITED PARTNERSHIP.

Schramm, Wilbur. (1964). Mass media and National Development: The Role of Information in the Developing Countries. California: Stanford University Press.

Somchai, C. (2017). The King’s Philosophy and Sustainable Development. Retrieved 03 20, 2021, from https://shorturl.asia/8ysIU

Thatsanai, S. (2016). Media Usage and Spending Behaviors Based on the Sufficiency

The Chaipattana Foundation. The Concept of the History of the King's Science. Retrieved 02 25, 2021, from https://shorturl.asia/SY7JW

The King’s Philosophy. (2021) The King’s Philosophy. Retrieved 02 20, 2021, from https://shorturl.asia/ZDwGj

Weber, R. P. (1990). Basic content analysis. Sage, London.

Wichian, K. (2013). Mass Media with the Promotion the Lifestyle of the People in the Nakhon Ratchasima Province accordance the Philosophy of Sufficiency Economy. Retrieved 02 25, 2021, from https://shorturl.asia/b9Gg4

Yenjabok Porntip., and et. al. (2005). Agricultural Development Communication for New Theory Concept of His Majesty King Bhumibol Adulyadej: Communication Process for the Diffusion of New Theory Concept Which Result into an Adoption by Farmers. Retrieved 03 1, 2020, from https://shorturl.asia/U2Ywq

วารสารการวิจัยกาสะลองคำ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite