การศึกษาพฤติกรรมการฟังเพลงของเด็กปฐมวัยยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • ปรเมศวร์ สรรพศรี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • เพียงแพน สรรพศรี นักวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วัชรพงษ์ วิชา อาจารย์โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เจษฎา อุทุมภา อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การฟังเพลง, เด็กปฐมวัย, เด็กปฐมวัยยุคใหม่, พฤติกรรมการฟังเพลง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการฟังเพลงของเด็กปฐมวัยยุคใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฟังเพลงของเด็กปฐมวัยยุคใหม่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลด้านเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแหล่งข้อมูลด้านบุคคลโดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้างโดยทำการสัมภาษณ์ครูที่มีประสบการณ์การสอนเด็กปฐมวัย เด็กเล็ก ทั้งครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ท่าน และครูในสังกัดโรงเรียนเอกชน 3 ท่าน รวมถึงศึกษาปรากฏการณ์กระแสการฟังเพลงเด็กปฐมวัยทางช่องทางออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการฟังเพลงของเด็กปฐมวัยยุคใหม่มีสองรูปแบบ คือ 1) การฟังเพลงที่ได้รับการคัดกรองจากครูและผู้ปกครอง และ 2) การฟังเพลงจากการเลือกฟังด้วยตนเองโดยรูปแบบที่สองนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลและส่งผลอย่างมากต่อพฤติกรรมการฟังเพลง อย่างไรก็ตามยังคงมีจุดร่วมที่เหมือนกับเพลงที่ได้รับการคัดกรองจากครูและผู้ปกครอง คือ มีท่วงทำนองที่กระชับ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเข้าจังหวะดนตรีได้อย่างสนุกสนานซึ่งเป็นจุดเด่นของช่วงวัยนี้ที่ทำกิจกรรมผ่านการเล่นเป็นหลัก

References

Charoensook, S. (1998). Kids song. Education, 21(4), 24-26.

Chantavanich, S. (2018). Qualitative Research. (24th ed.). Bangkok: Chulalongkorn

University Printing House.

Government Gazette. (2019). Early Childhood Development Act. 30 April 2019.

Office of the Education Council. (2013). Early childhood care and education. Bangkok: Thailand.

Promsukkul, P. (n.d.). Early Childhood Music Education. Bansomdej Music Journal. 23-36.

Piemsutanon, M. & Ronnavet, M., (n.d.). Youtube Music Listening Behavior of Generation X and

Generation Y Consumers. Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat

University, 1-10.

Panichying, T. (2010). The Effect of Music Activities by Orff Theme Towards Early Childhood

Creativity at Srinakharinwirot University : Prasarnmit Demonstration School (Elementary)

in Vadhana District, Bangkok. Master’s Project, M.Ed. (Educational Psychology).

Srinakharinwirot University.

Sakalpasak, W., Halathaingam. W. (2019). Music and movement activity for early childhood.

Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 63(3), 203-208.

Sportsman, E, L. (2011). Development of Musicianship and Executive Functioning Among Children

Participating in a Music Program. Doctoral Thesis, University of Michigan, Ann Arbor, MI.

Suwanphitak, W. & Trakarnrung, S. (2022). Music Listening Behaviors of Thai Adolescents. Rangsit

Music Journal, 17(2), 118-131.

Suttachit, N. (1989). Research report: sound level perception of kindergarten. Bangkok: Faculty of

Education, Chulalongkorn University.

Thitima Choomhai. (2016). Music Listening Behaviors of Thai Adolescents. Hua Hin Sook Jai Klai

Kangwon Journal, 1(2), 18-33.

Vinijnaiyapak, N. (2017). Music Listening Behaviors of Thai People in 2017. Nida Poll. National

Institute of Development Administration. Bangkok: Thailand.

Woottiswat, S., Interview, 25 January 2023

วารสารการวิจัยกาสะลองคำ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite