การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ซิปป์ โมเดลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 18 คน นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 68 คน บัณฑิต จำนวน 14 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 11 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.35, S.D.=0.63) สามารถจำแนกเป็นรายองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้
1.การประเมินด้านบริบท ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.36, S.D.=0.65) โดยเป้าหมายของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสม รายวิชาในหลักสูตรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร และเนื้อหาสาระมีความน่าสนใจและทันสมัย
2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.26, S.D.=0.70) โดยอาจารย์มีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา และมีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม ตลอดจนมีระบบรองรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่เหมาะสม
3.การประเมินด้านกระบวนการ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.31, S.D.=0.56) โดยการบริหารจัดการหลักสูตรมีความเหมาะสม มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของรายวิชา และใช้วิธีการที่หลากหลายในการวัดและประเมินผล
4.การประเมินด้านผลผลิต ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.45, S.D.=0.59) โดยบัณฑิตของหลักสูตรมีความพร้อมในด้านวุฒิภาวะ สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหา และมีความโดดเด่นด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
References
Announcement of the higher education standards committee on the criteria for bachelor’s degree curriculum standards, B.E. 2022. (2022, 9 September). Royal Gazette. Volume 139 Special Section 212 Ng, 11-20.
Chantarotron, N., & Yatiakaravong, P. (2022). Curriculum and instruction development. Mahachula Academic Journal, 9(1), 336-347.
Homfung, C., & Makjui, A. (2023). An evaluation of Bachelor of Education program in Thai (4 years curriculum) (Revised curriculum academic year 2019) Faculty of Education, Silpakorn University. Silpakorn Educational Research Journal, 15(2), 274-288.
Onkasem, P., Koolnapadol, A., Sirathatnararojana, T., Potjana-areewong, J., & Hunsaen. S. (2023). A curriculum evaluation for graduate diploma program in teaching profession (Revised curriculum, B.E. 2562) Faculty of Education, Rajabhat Rajanagarindra University. Journal of MCU Nakhondhat, 10(11), 222-230.
Plangsorn, B., Sinthaworn, W., Chantana, S., Nithichaiyo, S., Ploysri, K., Pianjud, D., Charungchi, K., Tantarawongsa, C., & Thumsuwan, S. (2019). A study of lecturers responsible for the program, students, and lecturers in Bachelor of Education program in Educational Technology and Computer Teaching (B.E. 2559), Faculty of Education Rajabhat Rajanagarindra University. Journal of Educational Technology and Communications, Facutyl of Education Mahasarakham University, 2(4), 9-18.
Ruckbumrung, T., Lalognum, N., Iamboonyarit, P., & Puripanik, C. (2022). An evaluation of the Doctor of Philosophy program in Educational Technology, Revised A.D. 2016. HRD Journal, 13(2), 8-20.
Sithsungnoen, C., Vanichwatanavorachai, S., Songserm, U., Sapueksri, S., Boonsom, N., & Kaveerat, K. (2023). The curriculum evaluation on Master of Education program in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Silpakorn University. Journal of Education, Silpakorn University, 21(2), 107-121.
Soraphum. T., Sarnok, K., Limsripraphan, T., Kongtong, P., & Yueayai, R. (2023). A curriculum evaluation on Bachelor of Education program in Educational Technology and Computer (Revised Curriculum 2019) Vongchavalitkul University. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 20(2), 213-224.
Srisa-at, B. (2017). Basic research (10th ed.). Suviriyasan.
Stufflebeam, D. L., & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation: theory, models and applications (2nd ed.). Jossey Bass.
Suparp, S. (2023). Curriculum evaluation models in the 21st Century stemmed from the CIPP model. Journal of Education Burapha University, 33(1), 1-14.
Vimolsilp, U., & Photipussa, P. (2023). The curriculum analysis and evaluation of Bachelor of Arts in Educational Communications and Technology program (The revised curriculum 2017) Faculty of Education in Ramkhamhaeng University. Udon Thani Rajabhat University Academic Journal, 11(1), 85-99.
Wannaprapha, T., Lalognum, N., Panich, W., Ruckbumrung, T., & Somkid, N. (2022). An evaluation of the Master of Education program in Educational Technology (Revised A.D. 2016) Faculty of Education, Burapha University. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 9(1), 112-124.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.