การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสอนระหว่างกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 A Comparison of the English Reading Ability and Satisfaction of

Main Article Content

ทิพากร สุขชูศรี
รองศาสตราจารย์รสสุคนธ์ พหลเทพ
รองศาสตราจารย์รัตนวดี โชติกพนิช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิกา ตั้งประภา

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนเรียน กับ หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps  (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนเรียน กับหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียน ระหว่าง นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับ นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model)และ (4)เพื่อเปรียบเทียบความพึงของนักเรียนต่อกิจกรรมการสอน ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับ นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา(CIPPA Model)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบางกอกวิทยา (มูลนิธิ) จำนวนทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย(1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสอนสถิติที่นำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


                ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(3) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียน ระหว่าง นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา(CIPPA Model) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) (4) ความพึงพอใจของ นักเรียนต่อกิจกรรมการสอนระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


                In this experimental research investigation, the researcher compares (1)the English reading ability of students taught by the use of presentation-practice-production (3Ps) communicative language teaching activities prior to the commencement and after the completion of this study. The researcher also compares (2)the English reading ability of students instructed through applications of the construct-interaction-physical participation-process learning-application (CIPPA) model prior to the commencement and after the completion of this study. Moreover, the researcher compares (3) the English reading ability of students taught by the use of 3Ps activities and those instructed by means of applications of the CIPPA model.  Finally, furthermore, the researcher compares (4) student satisfaction with 3Ps activities and the applications of the CIPPA model. The sample population consisted of sixty Matthayom Sueksa Five students enrolled in the first semester of the academic year 2016 at Bangkok Witthaya (Foundation) School. They were divided into two groups of thirty each, one group being designated as Experimental Group one and the other constituted as Experimental Group Two. The research instruments used to collect germane data were (1) lesson plans; (2) a test for measuring English reading ability; and (3) a questionnaire eliciting data appertaining to satisfaction with the use of teaching activities. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of mean and standard deviation. In addition, the researcher also employed the dependent samples and independent samples t-test techniques.


            Findings are as follows:


1) The English reading ability of the students taught by means of 3Ps activities was found to be evinced at a higher level at the conclusion of the study than prior to its commencement at the statistically significant level of .05.


2) The English reading ability of the students instructed by means of applications of the CIPPA model was also displayed at a higher level after the conclusion of the study than prior to its commencement at the statistically significant level of .05. 3) In comparing the English reading ability of the students taught by means of 3Ps activities and those instructed by means of applications of the CIPPA model, the researcher found differences at the statistically significant level of .05. The scores of the former were at a higher level than those of the latter. 4) In comparing student satisfaction with 3PS activities and applications of the CIPPA model, it was found that there were no differences between the two groups of students at the statistically significant  level of .05.


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2552). กลุ่มงานนโยบาย “กฎบัตรอาเซียน”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บางกอกบล็อก.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.
กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษดา ดีพิจารณ์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทิวไผ่งาม กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ ศศม.การสอน
ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต การพิมพ์.
ดารินทร์ ตนะทิพย์. (2545). ผลของการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาที่เน้นกระบวนการ
เรียนรู้ทางภาษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปี ที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐออนไลน์. (2558, 4 พฤศจิกายน 2558). ค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/536930
นิตยา ศรีภูธร. (2554). รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา
(CIPPA model) วิชาภาษาอังกฤษ3 เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปัญจภรณ์ อินจรัญ. (2549). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบซิปปา(CIPPAMODEL)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีชาศรี เรืองฤทธิ์. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถในทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารและแรงจูงใจใน
การเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยสถานการณ์
จำลองตามคู่มือครู.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ผกาภรณ์ ผดุงกิจ. (2552). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาโดยวิธีการสอนอ่านเพื่อการสื่อสาร. (ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม.การสอนภาษาอังกฤษใน
ฐานะภาษาต่างประเทศ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
ระพีพรรณ ศรีไชยแสง. (2551). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยใช้วิธี
สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร: (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศุภิสรา วิริไฟ. (2548). ผลการฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาของ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์).
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, สาขาการจัดการเรียนรู้.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิรา ปลั่งแสงมาศ. (2549). การใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาความสามารถในการ
อ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (สารนิพนธ์ ศศ.ม.การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย.
เสาวนีย์ เวโรจนนันท์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร. (สารนิพนธ์ ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
อาริตา สาวดี. (2553). สภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
อุตรดิตถ์เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ คม.หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, บัณฑิตวิทยาลัย.
Harris, larry A.; & Smith, Carl B. (1986). Reading Instruction: Diagnostic Teaching in the
Classroom. 4th ed. U.S.A.: Macmillan.
William, Eddles. (1994). Reading in the Language Classroom. 8th ed. London: The Macmillian Publishers, Ltd.