ภาพยนตร์ ไทบ้านเดอะซีรีส์ ว่าด้วยวัฒนธรรมต่อต้านผ่านวัยรุ่นอีสานรุ่นใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้นำเสนอการวิเคราะห์ภาพยนตร์ ไทบ้าน เดอะ ซีรีส์ โดยใช้แนวคิดวัฒนธรรมต่อต้าน (Counter Culture) ผ่านเนื้อหาในภาพยนตร์และวิธีคิดของคนเบื้องหลัง วิธีการศึกษาโดยการสืบค้นเนื้อหาในภาพยนตร์ ไทบ้านเดอะซีรีส์ และเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ รวมถึงบทสัมภาษณ์ของกลุ่มผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพยนตร์ที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงเนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ตัวบทเนื้อหาและรูปแบบภายในภาพยนตร์ (Textual Analysis) และวิเคราะห์บริบทของภาพยนตร์ (Contextual Analysis) โดยพิจารณาจากมุมมองและแรงบันดาลใจของผู้ผลิตงาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตงานต้องการนำเสนอดังนี้ ส่วนที่ 1 การแตกหักทางวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง (Radical Cultural Disjuncture) ประกอบไปด้วย 1.1) ปรากฏผ่านเครื่องแต่งกายของไทบ้านเดอะซีรีส์ ได้แก่กางเกงยีนส์ที่ตัดขาและรองเท้าแตะ 1.2) การปฏิเสธต่อจารีตฮีต-คองจารีตประเพณีอีสาน ได้แก่ การมีเสรีภาพในด้านการมีเพศสัมพันธ์ และตัวละครที่สะท้อนการอยู่ก่อนแต่ง และส่วนที่ 2 การปะทะกันอย่างไม่สามารถลงรอยกันได้ของมโนทัศน์ว่าด้วยชีวิต (Irreconcilable Conceptions of Life) ประกอบด้วย 2.1) การปฏิเสธความเชื่ออุดมคติของรุ่นพ่อแม่ อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิธีในการทำงานการเกษตรกลายเป็นผู้ประกอบการ และท้าทายมุมมองศีลธรรมของรุ่นพ่อแม่ และ 2.2) ชุมชนอีสานอุดมคติของ ไทบ้านเดอะ ซีรีส์ ผ่านมุมมองในภาพยนตร์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงช่วงปัจจุบัน และผ่านบทบาทในตัวละคร ได้แก่ เด็กหนุ่มชนบทอีสานที่ฝันเป็นนักธุรกิจ สังคมที่บูชาความรักมากกว่าเลือกคบคนที่มีตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ และการมีเสรีภาพการทดลองอยู่ก่อนแต่ง
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์
References
1. แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2559). บรรยายสาธารณะ ปีที่ 2: มองผ่านวรรณกรรม: สังคม ‘อีสาน’ ในความเปลี่ยนแปลง (บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://lek-prapai.org/home/view.php?id=381. (วันที่เข้าถึง 9 มีนาคม 2561).
2. คนมองหนัง : “หมู่บ้านอีสาน” ที่เปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ “ท้องถิ่น-รัฐ” ใน “ไทบ้าน เดอะซีรีส์”. (2560) มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17-23 มีนาคม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.matichonweekly.com/art/article_29112 (วันที่เข้าถึง 23 มีนาคม 2560).
3. ไทบ้าน เดอะซีรีส์ : วิธีแต่งตัวให้ถูกในการไปดูหนังไทบ้านเดอะซีรีส์ RERUN. (2560). YouTube: Thibaan Channel. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.youtube.com/watch?v=VuVE_2UnfEk (วันที่เข้าถึง 27 กุมภาพันธ์ 2561).
4. ไทบ้าน เดอะซีรีส์ มาแรง..คนแห่ชมแน่นโรงหนัง. (2560). กรุงเทพธุรกิจ. 27 กุมภาพันธ์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/742464 (วันที่เข้าถึง 30 มกราคม 2561).
5. นครินทร์ วนกิจไพบูลย์. (2559). “ยีนส์ : จากชนชั้นกรรมาชีพ ฮิปปี้หัวขบถ สู่แฟชั่นยอดฮิต โดยนครินทร์ วนกิจไพบูลย์.” มติชน. 4 มีนาคม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_63629
(วันที่เข้าถึง 30 มกราคม 2561).
6. นพดล พรามณี. (2556). “การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของฮีตสิบสองคองสิบสี่: กรณีศึกษา หมู่บ้านชำโสม จังหวัดปราจีนบุรี.” วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15, 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 35-46.
7. ปราปต์ บุนปาน. (2560). “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ โดย ปราปต์ บุนปาน.” มติชน. 13 มีนาคม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_494156 (วันที่เข้าถึง 30 มกราคม 2561)
8. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2553). “วัฒนธรรมวัยรุ่น.” วารสารสังคมศาสตร์, 22, 1 (มกราคม – มิถุนายน), หน้า 25-52.
9. “เปิดใจผู้กำกับ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์” หนังไทยสไตล์อีสาน ที่ม่วนคักจนหัวแฮง.” (2560). ข่าวสด. 14 มีนาคม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_253277Z (วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2561).
10. พระสุขี ชาครธมฺโม. (2553). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีฮีตสิบสอง: ศึกษากรณีตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดของแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
11. พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
12. พีระ ส่องคืนอธรรม. (2560). บทวิจารณ์: “ไทบ้านเดอะซีรีส์” หนังศรีสะเกษที่บ่มีสำเนียงศรีสะเกษ. (14 เมษายน) (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://isaanrecord.com/2017/04/14/thaiban-the-series-review/ (วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2561.)
13. ภู กระดาษ [นามแฝง]. (2558). ดั่งเรือนร่างไร้องคาพยพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
14. ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2556). “วิธีวิทยาศึกษาวัฒนธรรมต่อต้าน.” ใน ยุกติ มุกดาวิจิตร, (บรรณาธิการ). วัฒนธรรมต่อต้าน. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์. หน้า 3-56.
15. สำลี รักสุทธี. (2544). ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ประเพณีของดีอีสาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
16. สุรศักดิ์ ป้องศร [ผู้กำกับ]. (2560). ไทบ้าน เดอะซีรีส์ [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: เซิ้ง โปรดักชั่น แอนด์ ออแกไนเซอร์.
17. สุรศักดิ์ ป้องศร. (2561). NIA ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม. 16 กุมภาพันธ์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NIAThailand/videos/1553552991348688/ (วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2561).
18. ““อยู่ก่อนแต่ง – แต่งก่อนอยู่” ประเด็นฮิตคู่วัยโจ๋มหา’ลัย.” (2554). ผู้จัดการออนไลน์. 15 กุมภาพันธ์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://amp.mgronline.com/Home/9540000020404.html (วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2561).
19. อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง. (2556). “ศิลปะสาปสยอง: แฟนหนังกับการเมืองของการต่อต้าน วัฒนธรรมกระแสหลักในภาพยนตร์สยองขวัญสมัยใหม่.” ใน ยุกติ มุกดาวิจิตร (บรรณาธิการ), วัฒนธรรมต่อต้าน. กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์. หน้า 235-280.
20. อธิป จิตตฤกษ์. (2556). พังค์กับสัมพัทธนิยมมของการปะทะต่อต้าน. ใน ยุกติ มุกดาวิจิตร (บรรณาธิการ), วัฒนธรรมต่อต้าน. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์. หน้า 175-233.
ภาษาอังกฤษ
1. Benjamin, W. (1968). The work Art in the Age of Mechanical Reproduction in Illumination, translated by Harry Zohn. New York: Schocken Books. pp. 217-252.
2. Croteau, D. and Hoynes, W. (2013). Experience Sociology. New York: McGraw-Hill.
3. Denisoff, R. S. and Levine, M. H. (1970). “Generations and Counter-Culture: A Study in the Ideology of Music.” Youth and Society, 2,1 (September): 33-58.
4. Gair, C. (2007). The American Counterculture. Edinburgh; Edinburgh University Press.
5. Larkin, R.W., 2015. “Counterculture: 1960s and Beyond.” in Wright, J.D. (editor-in-chief). International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. 2nd edition, Vol 5. Oxford: Elsevier. pp. 73–79.
6. Mills, C. W. (1956). The Power Elite. New York: Oxford University Press.
7. Monteith, S. (2008). American Culture in the 1960s. Edinburgh, UK: Edinburgh University Press.
8. Ramos, P. (2014). Woodstock: Community and Legacy. 30 (July). (online) Retrieved from https://estudogeral.sib.uc.pt/bitstream/10316/26590/1/PedroRamos_30Julho2014.pdf (Accessed 22 February 2017).
9. Roszak, T. (1969). The making of a Counter Culture: Reflections on the Technocratic Society and Its Youthful Opposition. New York USA: Anchor Books Doubleday Company.
10. Shires, P. (2006). Hippies of the Religious Right. USA: Baylor University Press.
11. Zimmerman, N. (2008). Counterculture Kaleidoscope: Musical and Cultural Perspective on Late Sixties San Francisco. USA: The University of Michigan states press.