กลยุทธ์การจัดการแบบเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน บนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นพพล อัคฮาด
อัยรวี วีระพันธ์พงศ์
ฐาปนีย์ เวสารัชเวศย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และพัฒนากลยุทธ์การจัดการแบบเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมมนากลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทซึ่งเป็น Best Practices 5 พื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่ บ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์, บ้านภู จังหวัดมุกดาหาร, บ้านกุดแข้ด่อน จังหวัดยโสธร, บ้านนาบัว จังหวัดนครพนม และบ้านโนนหอม จังหวัดสกลนคร แล้วทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสอดคล้องของข้อมูลต่าง ๆ และตรวจสอบผลการศึกษาด้วยวิธีการแบบสามเส้า จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพการจัดการแบบเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถสังเคราะห์และจำแนกได้ตามลักษณะจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคจากพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง 5 แห่งรวมกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1. กลยุทธ์การส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนให้เข้มแข็งและมีศักยภาพ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน 37 แนวทาง 2. กลยุทธ์การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน 20 แนวทาง และ 3. กลยุทธ์การพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน 20 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)