การใช้เด็กให้กระทำผิดทางอาญาโดยการงดเว้น: ศึกษากรณีผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคุ้มครองเด็กจากการถูกใช้ให้กระทำผิดอาญาโดยผู้ใช้อำนาจปกครองในประเทศไทย โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎี หลักการ และบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กจากการถูกใช้ให้กระทำผิดอาญาของผู้ใช้อำนาจปกครองเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการคุ้มครองเด็กจากการถูกใช้ให้กระทำผิดอาญาโดยผู้ใช้อำนาจปกครองโดยคำนึงถึงหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก
ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางอาญาในการคุ้มครองเด็กจากการถูกใช้ให้กระทำผิดอาญาโดยผู้ใช้อำนาจปกครองในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม ในประเด็นการใช้การตีความ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายเข้ามาคุ้มครองเด็กจากการถูกใช้ให้กระทำผิดอาญาโดยผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นการเฉพาะต่อไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกระทำความผิดและเข้าไปข้องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันส่งผลให้เด็กเกิดตราบาปในชีวิต และเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเด็กอีกหลายประการตามมา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์