การเข้ารับบริการสุขภาพจิต ปัญหาอุปสรรคต่อการรับรู้ และเข้ารับบริการศูนย์บริการสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในภาคกลาง

Main Article Content

รณภูมิ สามัคคีคารมย์
ชนัยชนม์ นาราษฎร์
นนท์ธิยา หอมขำ
กัญญาณี ปิ่นเมือง
อินทุมาศ คลายโศก
เจษฎาภรณ์ เพียโคตร
เมษา แสงจันทร์
อรชพร ศิริวัฒนาศิลป์
ปอรพัชร์ วุฒิสินธุ์
กชามาส ทองมี

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่อการเข้ารับบริการสุขภาพจิต ปัญหา อุปสรรคต่อการรับรู้ และเข้ารับบริการศูนย์บริการสุขภาพจิตมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในภาคกลาง โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Analytical Cross-sectional Study) แ ล ะ ก า ร วิจัย เชิงคุณภาพ ใช้รูปแบบ ก า ร ศึก ษ า แ น ว ป ร า ก ฏ ก า ร ณ์วิท ย า ( Phenomenological Research) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 173 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานโดยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
        ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.6 เคยเข้ารับบริการ ร้อยละ 77.5 มีภาวะสุขภาพจิตดีและกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 83.8 มีความสามารถในการรับรู้ปัญหา การป้องกัน และการจัดการปัญหาทางจิตในระดับดีรวมทั้งมีทัศนคติต่อการเข้ารับบริการระดับดีและดีมาก ร้อยละ 40.8 และ 36.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพจิตที่ศูนย์บริการฯ คือ ทัศนคติต่อการเข้ารับบริการศูนย์บริการฯ พบว่า มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพจิตที่ศูนย์บริการฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value = 0.009) โดยนักศึกษาที่มีทัศนคติต่อการเข้ารับบริการในระดับที่ดีขึ้น จะเข้ารับบริการสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น ปัญหา อุปสรรคต่อการเข้ารับบริการสุขภาพจิต เช่น จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอกับจานวนนักศึกษาที่เข้ารับบริการ สภาพแวดล้อมและสถานที่ตั้งไม่เอื้อต่อการเข้ารับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย

- กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 Public Health Statistics A.D. 2021. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/9127.

- กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บารุงสาส์น.

- ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย. (2564). นักเรียนนักศึกษาและความรอบรู้สุขภาพจิต. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 29(2), 37-59.

- ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. (2539). “ความเชื่อถือได้และความแม่นตรง ของ General Health Questionnaire”. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 41(1), 2-17.

- ปรินดา ตาสี. (2565). “ความรอบรู้ทางสุขภาพจิตและแนวทางการสนับสนุน ด้านสุขภาพจิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลาปาง”. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 30(1), 94-95.

- รุ่งนภา ธูปหอม และอารยา ประเสริฐชัย. (2564). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาล ตาบลบางเมือง อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 19(2), 537.

- ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ และคณะ. (2561). “การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสุขภาพจิต สาหรับประชาชนทั่วไป”. วารสารวิทยาลัยพยาบาล- บรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 10(2), 99-105.

- ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. (2565). สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาการฆ่าตัวตาย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://suicide.dmh.go.th/.

- สุปราณี สิทธิกานต์ และดารุณี จงอุดมการณ์. (2563). “อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง”. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 43(1), 19-29.

- สำนักงานทะเบียนนักศึกษา. (2566). จำนวนนักศึกษามีสภาพจาแนก ตามคณะ สถานที่ศึกษา และเพศ ระดับปริญญาตรี ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2565. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/d84adf3e-200d-491a-a8a7-3ef6ee0c29e7.

- อรจิรา เนตรอารีย์. (2543). เจตคติตอการเขารับการฝึกอบรมของพนักงานธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

ภาษาอังกฤษ

- Becker MH, & Maiman LA. (1975). “Socio behavioraldeterminants of compliance with medical care recommendation”. Med Care. 13, 10-20.

- Jorm, A. F., Barney, L. J., Christensen, H., Highet, N. J., Kelly, C. M., & Kitchener, B. A. (2006). “Research on mental health literacy: what we know and what we still need to know”. Australian and New Zealand Journal of Psychiatry. 40(1), 3-5.

- Jorm, A. F., Korten, A. E., Jacomb, P. A., Christensen, H., Rodgers, B., & Pollitt, P. (1997). “Mental health literacy: a survey of the public's ability to recognise mental disorders and their beliefs about the effectiveness of treatment”. Medical Journal of Australia. 166(4), 182-186.

- Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME). (2018). Findings from the Global Burden of Disease Study 2017. [Online]. Retrieved from https://www.healthdata.org/policy-report/findings-global-burden-disease-study-2017.

- Mahfouz, M. S., Aqeeli, A., Makeen, A. M., Hakami, R. M., Najmi, H. H., Mobarki, A. T., …Ageel, O. A. (2016). “Mental Health Literacy Among Undergraduate Students of a Saudi Tertiary Institution: A Cross-sectional Study”. Mental illness. 8(2), 35-38.

- Reddy R, Welch D, Lima I, Thorne P, & Nosa V. (2019). Identifying hearing care access barriers among older Pacific Island people in New Zealand: a qualitative study.

- World Health Organization. (2000). The family health nurse: context, conceptual, frame-work, and curriculum. Copenhagen: WHO Regional Office for Europe.

สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่หนึ่ง. 10 เมษายน 2566. สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่สอง. 6 เมษายน 2566. สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่สาม. 8 เมษายน 2566. สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่สี่. 10 เมษายน 2566. สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ห้า. 6 เมษายน 2566. สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่หก. 8 เมษายน 2566. สัมภาษณ์