การสื่อสารความเสี่ยงของโรคอุบัติใหม่: บทเรียนตามการรับรู้ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของ การสื่อสารความเสี่ยงในกรณีโรคอุบัติใหม่ ตามการรับรู้ของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสงขลา โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรต (Hermeneutic Phenomenology) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจความหมาย ระบบคุณค่าทางความคิด ความรู้สึกตามการรับรู้ของประสบการณ์ ในผู้สูงอายุ กำหนดผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงรวมทั้งสิ้น 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างบทสรุป และรายงานผลเชิงวิเคราะห์พรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของผู้สูงอายุในชุมชนปรากฎอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ขณะที่ผู้ดูแล สมาชิกในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารกับผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยยังพบว่าผู้สูงอายุมีความกังวลถึงผลกระทบของโรคอุบัติใหม่ต่อร่างกาย เป็นเหตุผลที่ทำให้เลือกสนใจรับข้อมูล โดยผู้สูงอายุไม่เลือกที่จะปิดกั้นข้อมูล เพราะตระหนักรู้ถึงความสำคัญของข้อมูล ที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง เมื่อผู้สูงอายุได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง สื่อออนไลน์ จะมีการสอบถามข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัวอีกครั้งเพื่อนำมาใช้ในการตีความ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุไม่สามารถจดจำและปฏิบัติการป้องกันจากโรคภัยได้ หากปราศจากการได้รับคาแนะนาจากสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ประสบการณ์และทัศนคติตามการรับรู้เดิมของผู้สูงอายุมีผลต่อการเลือกที่จะบิดเบือนข้อมูล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์