ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม

Main Article Content

สุพล จอกทอง
เพ็ญสุดา จิโนการ

บทคัดย่อ

         ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความต้องการด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษ (2) เปรียบเทียบความต้องการด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษระหว่างกลุ่มนักศึกษาปกติกับ นักศึกษาที่มีความบกพร่อง และ (3) หาแนวทางในการพัฒนาด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษ โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษ จำนวน 43 คน จากการคัดเลือกแบบเจาะจงที่มีทั้งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปกติและนักศึกษาที่มีความบกพร่อง เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบประเมินสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์กลุ่ม และได้นำเครื่องมือมาสร้างแบบประเมินความต้องการจำเป็นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.74 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์กลุ่ม
          ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษโดยรวม ด้านสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (X = 3.76, SD = 1.03) และด้านสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก ( X = 4.77, SD = 0.43) และผลการเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษระหว่างกลุ่มนักศึกษาปกติกับนักศึกษาที่มีความบกพร่อง พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย

- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี: คิวแอด เวอร์ไทซิ่ง จำกัด.

- ชุลีกร นวลสมศรี และ สุทธิศักดิ์ จันทวงษ์ใส. (2563). “สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่พึงประสงค์สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรภาครัฐในประเทศไทย 4.0”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(2). 196.

- ดุสิตา ทินมาลา. (2561). “คุณลักษณะบัณฑิตครูการศึกษาพิเศษกับนโยบายการศึกษาไทย”. วารสารราชพฤกษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 16(1) 1-12.

- นัทธีรัตน์ พีระพันธ์ และ อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). ประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10406[12.

- บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

- ผดุง อารยะวิญญู และวาสนา เลิศศิลป์. (2551). การเรียนรวม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจ.เอ็น.ที.

- เพ็ญสุดา จิโนการ. (2560). การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

- พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28ก. 1-13

- มณีโชติรส เกิดปัญญา และสานนท์ ฉิมมณี. (2562). “แนวทางการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ”. วารสารวิจัยราชภัฏ กรุงเก่า, 6(1). 73-80

- ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์ และคณะ. (2561). “ทิศทางการผลิตบัณฑิตการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1). 97-109

- สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____________. (2550). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____________. (2562). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

- สายสุดา ปั้นตระกูล และคณะ. (2557). การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับอนุบาล

ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

- หนึ่งฤทัย ชัยยา. (2549). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษในโรงเรียน ที่จัดการเรียนร่วม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

- อัญชลี สารรัตนะ. (2559) “การประเมินความต้องการจำเป็น เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(1-2). 9-19

- อุบลรัตน์ หริณวรรณ และคณะ. (2563). “การเสริมสร้างสมรรถนะครูด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้”. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(2).

ภาษาอังกฤษ

- Kaufman,R,. and F.W. English. (1981). Needs Assessment Concept and Application. (3 rd ed.) United states of America: Education technology.

- Salend, Spencer J. (2008). Creating Inclusive Classrooms: Effective and reflective practices. Copyright by Pearson Education.

- Witkin, B. R.,and J. W. Altschuld. (1995). Planning and Conducting Needs Assessments. Thousand Oaks: sage Publications.