การใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางของคนพิการทางการเห็น: กรณีศึกษาสมาชิกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุปาณี พุกแก้ว

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันที่ช่วยในการเดินทางของคนพิการทางการเห็น มีการเลือกใช้
การเข้าถึง การรับรู้ข้อมูลการขอใช้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งอำนวย
ความสะดวกในการเดินทาง และความต้องการของคนพิการทางการเห็น
ที่ต้องการให้มีการปรับและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยในการเดินทางให้มีความเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คนพิการทางการเห็นที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นสมาชิกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 313 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม
          ผลการวิจัย พบว่าคนพิการทางการเห็นสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ไม้เท้าขาว แอปพลิเคชัน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยในการเดินทางด้วยตนเองได้อย่างมีอิสระ ถ้าหากมีความคุ้นเคยกับสถานที่ที่ไป และยังสามารถที่จะเดินทางไปยังสถานที่อื่น ๆ ที่ยังไม่เคยไปได้ โดยการวางแผนและศึกษาเส้นทางการเดินทาง รวมทั้งการใช้บริการขนส่งสาธารณะและการเดินทางในบางครั้งก็มีการเดินทางร่วมกับผู้อื่น เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย

- แฉล้ม แย้มเอี่ยม. (2530ก). “ไม้เท้าขาว”. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2530(6): 55-58.

- แฉล้ม แย้มเอี่ยม. (2530ข). “สุนัขนำทาง”. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2530(7): 50-53.

- ธัญชนก ผิวคา. (2561). การศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการ ของผู้พิการทางสายตา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/W0x7s.

- ธัญชนก ผิวคา และสุรชัย สุขสกุลชัย. (2560). “การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้พิการทางสายตา ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จังหวัดนครปฐม”. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(2): 30-39.

- ประกาศิต ตันติอลงการ และคณะ. (2557). “เครื่องบอกป้ายรถประจำทางสาย 203 สาหรับผู้พิการทางสายตา โดยใช้ GPS ระบุพิกัด”. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 2557(2): 153-164.

- มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอด. (2560). ไม้เท้าอัจฉริยะ (Smart Cane). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.etcb.in.th/index.php/m-etcb-services/29-smart-cane.

- วรรณโชค ไชยสะอาด. (2561). “เบรลล์บล็อก” ทางเดินคนตาบอด อย่าปล่อยให้เมืองทำคนพิการ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/social/general/546846.

- วาสนา กาญจนะ และคณะ. (2560). “ประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวของคนตาบอดต่อความสามารถในการดำรงชีวิตประจาวัน ในพื้นที่สถานการณ์ ความไม่สงบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส”. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2): 81-88.

- วินัดดา ปิยะศิลป์ และวันดี นิงสานนท์. (2558). คู่มือการตรวจประเมิน วินิจฉัย และแนวทางช่วยเหลือเด็กพิการ. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย.

- สาวิตรี ศรีพยัคฆ์ และเหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์. (2560). “ปัจจัยในการเลือกใช้รถโดยสารประจำทางของผู้บกพร่องทางการเห็น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”. วิศวสารลาดกระบัง, 34(2): 56-62.

ภาษาอังกฤษ

- Tarat, S. (2018). “Senses and Sensory Experience in the World of the Blind”. Journal of Mekong Societies, 14(2): 141-164.