ทัศนะต่อคนพิการกับการสร้างความเท่าเทียมในสังคม

Main Article Content

จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

        คนพิการ หมายถึง บุคคลที่มีความจำกัดทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา ทำให้เผชิญกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความพิการมักถูกมองเป็นเชิงลบ บางครั้งเป็นที่สะท้อนในการร้องขอความช่วยเหลือ ทำให้มีการเรียกว่า "ขอทาน" ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าทุกคนที่ร้องขอความช่วยเหลือเป็นคนพิการทั้งนี้เป็นภาพลักษณ์และการตีความเชิงลบที่ควรปรับเปลี่ยนในสังคม บทความนี้ได้นำเสนอแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพิการ ทัศนคติ และภาพสะท้อนของคนในสังคม ซึ่งได้กล่าวถึงอุปสรรคทางสังคมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการที่มีความสำคัญต่อการสร้างความเท่าเทียมในสังคมและนำเสนอบทบาทของกฎหมายและอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของคนพิการในการสร้างความเท่าเทียม ให้เกิดทัศนคติและภาพสะท้อนเชิงบวกในสังคม การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนรวมไปถึงการแบ่งปันโอกาสและความเท่าเทียมกันในทุก ๆ ด้านของสังคม ดังนั้นการทำความเข้าใจเชิงบวกเกี่ยวกับทัศนะต่อคนพิการทำให้เข้าใจความแตกต่างและความหลากหลายในสังคม ส่งผลให้สังคมเกิดการตระหนักถึงความเท่าเทียมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมที่เท่าเทียมกันในทุกด้านของชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124(61ก). 8.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว, วิรัญญา สุทธิกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). “ทัศนคติ ต่อคนพิการ: ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันหรือขวางกั้นการสร้าง ความเท่าเทียม”. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19(2). 19-36.

- ปนัดดา รักษาแก้ว. (2564). “การสร้างความเสมอภาคในสังคม: แนวคิด หลักการ บนฐานคิดธรรมาภิบาล”. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1). 333-342.

- พีระศักดิ์ พอจิต. (2559). ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรหลักนิติ ธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

- ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2556.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ, 2552

- อธิภัทร เอิบกมล. (2565). “ที่รักอย่าจากฉันไป : ชีวิต เลือดเนื้อ และการต่อสู้ของผู้พิการในวรรณกรรมของเจิ้งฟงสี่”. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 35(3). 1-17.

ภาษาอังกฤษ

- Blanck, P., & Flynn, E. (2017). Routledge handbook of disability law and human rights. London: Routledge.

- Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://doi.org/10.1097/00006842-197609000-00003.

- Corrigan, P. W., & Watson, A. C. (2002). “The Paradox of Self-Stigma and Mental Illness”. Clinical Psychology: Science and Practice, 9(1). 35-53.

- Degener, T., and Quinn, G. (Eds.). (2002). Human rights and disability: the current use and future potential of the United Nations human rights instruments in the context of disability. New York; Geneva: UN, Oct.

- Fallon-Kund, M., & Bickenbach, J.E., (2017). “New legal capacity laws and the United Nations Convention on the Rights of Persons with Disabilities: An overview of five countries in Europe”. European Journal of Health Law. 24(3). 285

- Goffman, E. (1963). Stigma: Notes on the management of spoiled identity. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

- Haller, B., & Dorries, B. (2010). “Media Made: Disability and the New Moral Imagination”. Disability & Society, 25(6). 677-692.

- Hehir, T., Grindal, T., Freeman, B., Lamoreau, R., Borquaye, Y., & Burke, S. (2019). “Eliminating Ableism in Education”. Harvard Educational Review, 89(3). 369-389.

- Jones, J.M. (2017). “Stereotype Threat and Perceptions of People with Disabilities”. Journal of Applied Social Psychology, 47(12). 689-698.

- Pager, D., & Shepherd, H. (2008). “The Sociology of Discrimination: Racial Discrimination in Employment, Housing, Credit, and Consumer Markets”. Annual Review of Sociology, 34. 181-209.

- Shakespeare, T. (2014). "The Social Model of Disability." In L. J. Davis (Ed.), "The Disability Studies Reader" (4th ed., pp. 214-221). Routledge.

- World Health Organization. (2011). World Report on Disability. WHO Press: Switzerland: 1-14.