ความ (ไม่) ยั่งยืนของการทานาข้าว ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

จักรพันธ์ นาน่วม

บทคัดย่อ

         การทำนาข้าวเป็นกิจกรรมด้านการเกษตรหลักของประเทศไทยซึ่งผลผลิตจากกิจกรรมนี้ คือ ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญสำหรับการบริโภคในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้พิจารณาถึงความยั่งยืนในการประกอบอาชีพของชาวนาไทยในภาคตะวันออก โดยมุ่งศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุด สะท้อนถึงสัญญาณของปัญหาที่น่าจะเกิดในการทำนาและส่งผลต่อความยากจนของชาวนาโดยได้ยึดกรอบการพิจารณาความจนของชาวนามิติทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1) ความอัตคัดทางเศรษฐกิจ 2) ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ 3) ความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน 4) ความต้องการพึ่งพา และ 5) ความเป็นปัญหาในสังคม โดยความอัตคัดทางเศรษฐกิจมีสำเหตุมาจากต้นทุน การทำเกษตรสูงและราคาสินค้าเกษตรที่มักเกิดความผันผวน รวมทั้งปัญหาหนี้สิน สะสมทั้งที่มาจากหนี้สินเพื่อลงทุนปัจจัยการผลิตสำหรับการทำเกษตร และหนี้สินนอกภาคการเกษตร ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุนและการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐ ความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการทำนา เช่น คุณภาพดิน แหล่งน้ำ
ต้นทุน ทำให้ชาวนามีค่าใช้จ่ายสำหรับการทำนาที่สูงและส่งผลต่อรายได้ที่เหลือจากการทำนา ความต้องการพึ่งพาของชาวนาในการเข้าถึงความรู้และการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากการยอมรับในเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้สูงอายุ และรูปแบบการส่งเสริมและให้ความรู้ของหน่วยงาน ความเป็นปัญหาในสังคมซึ่งสะท้อนออกมาจากการที่รัฐจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยา นอกจากนั้น ยังซ้ำเติมด้วยปัญหาสังคมผู้สูงอายุในหมู่ชาวนาทำให้ขาดการสืบทอด ต่อช่วงการทำกินบนผืนนานั้น ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างของชาวนาในเครือข่ายของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านเนินไทร ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งทำนาตามแนวทาง “ข้าวสะอาดในนานิเวศ” เพื่อสร้างความยั่งยืนของอาชีพโดยการลด รายจ่ายและเพิ่มรายได้ ในประเด็นการลดรายจ่ายหรือต้นทุนในการผลิต ชาวนาจะลดการใช้สารเคมีซึ่งมีราคาสูงส่งผลต่อต้นทุนการทำเกษตร ในการเพิ่มรายได้ชาวนาพัฒนาวิธีการดูแล การปลูก และการเก็บเกี่ยวให้ได้มาซึ่งข้าวที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการ ไม่มีการปนเปื้อนสารในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคทำให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการและขายได้ราคาดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)