เบตง: การสรรสร้างแผนที่ท่องเที่ยวจากทรัพยากรทางวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Main Article Content

เกษตรชัย และหีม
สกาวรัตน์ บุญวรรโณ
ปัญญา เทพสิงห์
พงษ์ทัช จิตวิบูลย์
ภรณีย ยี่ถิ้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและสรรสร้างแผนที่ท่องเที่ยวจากทรัพยากรทางวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในชุมชนที่ผ่านการคัดเลือก 5 ตำบล จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ประธานชุมชน รองประธานชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวผู้ใช้แผนที่ และผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การพัฒนาแผนที่จำลองเพื่อเป็นต้นแบบในการออกแบบ รวมทั้งแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สนทนากลุ่ม การสำรวจภาคสนาม การสังเกตเพื่อยืนยันจุดสำคัญของแผนที่ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบนกรอบข้อกำหนดในการจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อยืนยันผลของข้อมูล รวมทั้งการพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นการสำรวจ สืบค้น และยืนยันผลทรัพยากรทางวัฒนธรรม แผนที่ทรัพยากรทางวัฒนธรรมมีความเหมาะสมของจุดและประเภทของแหล่งท่องเที่ยวโดยการตรวจสอบข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยว จุดหมายตา สถานที่ราชการ ศาสนสถาน ศูนย์บริการชุมชน อาหารท้องถิ่น และกิจกรรมพื้นที่พิเศษที่นำมาจัดใส่ในแผนที่ ช่วยให้แผนที่ทรัพยากรทางวัฒนธรรมมีความสมบูรณ์ สำหรับประเด็นการสรรสร้างพัฒนาแผนที่กำหนดจุดหมายแหล่งท่องเที่ยว ทั้งข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ จับต้องไม่ได้ และการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง ช่วยอำนวยความสะดวกในการต่อยอดกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ นับเป็นข้อมูลระบบมูลฐานชุมชน ระบบสารสนเทศ (Digital platform) ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษณ์กุล วัฒนพันธ์ุ. (2566). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจบูติคโฮเต็ลในอําเภอเมืองจังหวัด อุทัยธานี (สารนิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ขวัญชนก นัยจรัญ, และวาสินี มีเครือเอี่ยม. (2565). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมของบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 13(1), 54-67.

จุฬาลักษณ์ ไพบูลย์ฟุ้งเฟื่อง. (2563). แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาคร ประพรหม และเจษฎา ไหลภาภรณ์. (2564). การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอําเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(1), 54-70.

ชาคริต สิทธิฤทธิ์. (2559). จับต้องได้-จับต้องไม่ได้: ความไม่หลากหลายในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 141-160.

ณกฤช รัตนวงศา และคณะ. (2563). แผนที่ท่องเที่ยวแบบความจริงเสมือน กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาระคาม, 11(1), 33-44.

ดวงกมล สุรพิพิธ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 6(2), 139-157.

นครินทร์ น้ำใจดี. (2565). การจัดทำแผนที่ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เมืองเก่า จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยองกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 70-86.

ปฏิพล ยอดสุรางค์ และคณะ. (2566). การวางแผนเส้นทางท่องเที่ยวฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างในเมืองรองริมแม่น้ำ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 19(1), 66-89.

พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญโญ (สันยศติทัศน์). (2565). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย. วารสารมจรพุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 133-144.

พลเดช เชาวรัตน์ และคณะ. (2567). การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนแกดำผ่านกลไกความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารช่อพะยอม, 35(1), 191-212.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิภาวี กฤษณะภูติ. (2561). สภาพการพัฒนาหมู่บ้านสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(2), 117-141.

วุฒิพงษ์ ทองก้อน และคณะ. (2567). การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 19(1), 1-21.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สภาพัฒน์ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนา เมืองชายแดนเบตง จังหวัดยะลา สู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=14260&filename=index.

Barney, J.B., Wright, M., and Ketchen, D.J. (2001). The resource-based view of the firm: Ten years after 1991. Journal of Management, 27(6), 625-643. https://doi.org/10.1177/014920630102700601

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University Press.

Conzen, M. R. G. (1969). Alnwick, Northumberland: a Study in Town-Plan Analysis. Oxford: Alden Press. https://doi.org/10.2307/621094

Dash, N. K. (2005). Module: Selection of the Research Paradigm and Methodology. Retrieved September 24, 2024, From https://www.researchgate.net/profile/Barbara awulich/publication/257944787_Selecting_a_research_approach_Paradigm_methodology_and_methods/links/56166fc308ae37cfe40910fc/Selecting-a-research-approach-Paradigm-methodology-and-methods.pdf

Dickman, S. (1997). Tourism: An introduction text. 3rd ed. Hodder Headline.

Kaplan, A. (2016). Lifelong Learning: Conclusions from A Literature Review. International Online Journal of Primary Education, 5(2), 43-50.

Relph, E. (1976). Place and placelessness. London: Pion.

Richards, G. and Raymond, C. (2000). Case Study-Creative Tourism New Zealand. Published at www.fuel4arts.com. September 2003.

UNESCO. (2003). United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2003). Convention for Safeguarding of Intangible Cultural Heritage. Paris: UNESCO.