พลเรือนไม่มีอาวุธกับการติดตามดูแลความรุนแรง: ศึกษากรณี ศูนย์ข้อมูลฯ ในช่วง“ปิดกรุงเทพฯ”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้กลุ่มทางสังคมได้พยายามก่อร่างการทำงานในฐานะพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ และวิเคราะห์บทบาทของพลเรือนที่ปราศจากอาวุธที่เกิดขึ้นมีนัยสำคัญอย่างไร ต่อการกำกับดูแลความรุนแรงภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งยืดเยื้อ ผ่านการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ผลการศึกษาสะท้อนเงื่อนไขการก่อร่างศูนย์ข้อมูลฯ เกี่ยวข้องกับ 1) การรับรู้ถึงสัญญาณความเสี่ยงก่อนเหตุความรุนแรงปรากฏ 2) ข้อจำกัดต่อการกำกับดูแลความรุนแรงจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) การกล่าวอ้างและการช่วงชิงการใช้วาทกรรมปฏิบัติการสันติวิธี 4) การตระหนักต่อประเด็นความรุนแรงของภาคส่วนต่างๆ และ 5) การประยุกต์ใช้องค์ความรู้และการทำงานเชิงสหสาขาวิชา รวมทั้งการวิเคราะห์ผ่านกรอบศึกษาปฏิบัติการสันติวิธีโดยพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ ยังได้สะท้อนความสำคัญและจำเป็นยิ่งของบทบาทพลเรือนที่ปราศจากอาวุธทั้งในฐานะคนในและคนนอกสถานการณ์ที่ต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อสร้างเงื่อนไขลดทอนความรุนแรงร่วมกัน ด้วยเหตุที่ทุกฝ่ายล้วนเสี่ยงตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ และเพื่อสร้างทางเลือกที่บ่งชี้ว่าผู้คนทั้งที่เป็นกลางและไม่เป็นกลางต่างสามารถสร้างบทบาทต่อการกำกับดูแลความรุนแรงได้ โดยสิ่งนี้อาจมีนัยสำคัญต่อการกำกับดูแลความรุนแรงในอนาคต
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์