ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการบูรณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์พฤตกิรรมการบูรณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุูณ ผลการวิจัย สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้ง 5 คือ 1) การมีส่วนร่วม (X5) 2) พันธกิจ(X6) 3) วิชาชีพเฉพาะ(X1) 4) ความรู้ในบริบท 3 จังหวัด(X4) และ 5) เงินทุน(X7) สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการบูรณาการการเรียนรู้กับงานวิจัยได้โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ร้อยละ 56.4 อย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีสมการพยากรณ์ดังนี้ คือ 1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ y = -0.009 + 0.341 X5 + 0.155 X6 + 0.252 X1 + 0.147 X4 + 0.082 X7 และ 2) สมการ พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy = 0.437 X5 + 0.163 X6 + 0.176 X1 + 0.154 X4 + 0.102 X7
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น