การพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินการมีสามระยะ ประกอบด้วย ระยะแรก การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยและร่างตัวบ่งชี้ โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สอง การพัฒนาตัวบ่งชี้โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ ระยะที่สาม การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 420 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ความไว้วางใจ ต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 28 องค์ประกอบย่อย 141 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นสมรรถนะของผู้บริหาร (Competency) 37 ตัวบ่งชี้ คุณธรรมนำชีวิต ของผู้บริหาร (Morality) 24 ตัวบ่งชี้ จิตลักษณะของคนดีของผู้บริหาร (Characteristics) 20 ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (Leadership) 24 ตัวบ่งชี้ การปรับปรนของผู้บรหิาร (Assimilation) 20 ตัวบ่งชี้ และคุณลักษณะของผู้บริหาร (Features) 16 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า สถิติไค-แควร์ (Chi -Square) เท่ากับ 230.56 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 199 ค่านัยสำคัญ ทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.06198 ค่าดัชนีที่วัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ระดับ ความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.92 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า พารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.019 (Chi-Square=230.56, df=199, P-value=0.06198, RMSEA=0.019, GFI=0.96, AGFI =0.92) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น