การเปรียบเทียบหลักความรับผิดทางละเมิดกับหลักความรับผิดเด็ดขาด และการรับรู้ของผู้ประกอบการหอการค้าจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความรับผิดทางละเมิดถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับสากล เมื่อความต้องการในสินค้ามีปริมาณที่มากขึ้น กระบวนการผลิตสินค้าย่อมมีมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค และความบกพร่องในกระบวนการผลิตย่อมมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ากระบวนการผลิตที่ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัยกระทำได้ค่อนข้างยาก ประเทศไทยจึงได้มีการนำหลักความรับผิดเด็ดขาดมาบังคับใช้ โดยปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีวัตถุประสงค์การศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักความรับผิดทางละเมิดทั่วไปกับหลักความรับผิดเด็ดขาด 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงหลักความรับผิดทางละเมิดทั่วไปกับหลักความรับผิดเด็ดขาดและ 3) ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการสมาชิกหอการค้าในจังหวัดอุดรธานีเกี่ยวกับหลักความรับผิดทางละเมิดทั่วไปและหลักความรับผิดเด็ดขาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร เป็นการศึกษาในเนื้อหาของหลักความรับผิดทางละเมิดทั่วไปกับหลักความรับผิดเด็ดขาด ทราบว่า 1) ความรับผิดทางละเมิดหากไม่มีการจงใจหรือประมาทเลินเล่อแล้วผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด แต่ในส่วนความรับผิดเด็ดขาด แม้ผู้กระทำจะมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ยังคงต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากตัวสินค้า และให้ภาระการพิสูจน์ตกเป็นของผู้ประกอบการอีกด้วย 2) การรับรู้และความเข้าใจถือว่ายังเป็นหลักการที่ค่อนข้างใหม่จึงควรส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงหลักความรับผิดเด็ดขาด ภายใต้พระราชบัญญัติสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัว
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
(in Thai)
2.Manjing, S. (2009). Marketing management. (3d.). Bangkok: H. N. Group. (in Thai)
3.Nisarat, J. (2009). Civil and Commerical Code: Sale, Exchange, Gift. Bangkok: Ramkhamhaeng
University. (in Thai)
4.Puyyapan, P. (2008). Civil and Commerical Code: Wrongful The Tort Liability by Officer Act
B.E. 2539 Tort Law Presumption Offences of Law. (12th). Bangkok: Nitibannakarn.
(in Thai)
5.Srijaroonrat, M. (2009). Law of Evidece. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (in Thai)
6.Sothibundhu, S. (2014). Wrongful, Acts, Management of Affairs without Mandate and Undue
Enrichmen. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)
7.Wongwitit, S. (2011). Civil and Commercial Code: Wrongful, Management of Affairs without
Mandate and Enrichment. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (in Thai)