การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ
ศุภลักษณ์ สินธนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based learning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา (Education research) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีจำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะการวิจัย ประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ ทักษะการตั้งคำถามวิจัย ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการวิเคราะห์ และทักษะการสังเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.84 คิดเป็นร้อยละ 72.79 ของคะแนนเต็ม นักศึกษาที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 76.74 ของนักศึกษาทั้งหมด ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.14 คิดเป็นร้อยละ 74.63 ของคะแนนเต็ม นักศึกษาที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 86.04 ของนักศึกษาทั้งหมด ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Anekpunyakul, P. (2010). Research Development: A Possible Approach. Journal of Yala Rajabhat
University, 5(1), 59-70. (in Thai)
2.Chansin, W. (2007). Outcomes of Mathematics Learning Entitled Opinion Survey of Mattayomsueksa
5 Students Attending Phon Charoen Witthaya School By Using Research - Based Learning.
Master of Education (Curriculum and Instruction). Mahasarakham University. (in Thai)
3.Fang, N. (2005). A Research Based Learning (RBL) Model For Enhancing Manufacturing Engineering
Education Paper presented at 2005 Annual Conference, Portland, Oregon [Online].
Retrieved May 31, 2017, from: https://peer.asee.org/14460.
4.Green, A. (2010). Good Practice Guide on Research-Based Learning [Online]. Retrieved May
31, 2017, from: http://www.griffith.edu.au/gihe/pdf/gihe_tipsheet_web_rbl.pdf.
5.Khamanee, T. (2017). Teaching Science: Knowledge for the learning process effective. (18 ed.).
Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
6.Niko love Eddins, G. S. & Williams, F. D. (1997). Research-Based Learning for Undergraduates:
A Model for Merger of Research and Undergraduate Education. Journal on Excellence
in College Teaching, 61(2), 122-A.
7.Phuphajai, S. (2010). Learning outcome in a supplemented biology course using research-based
learning model for Mathayom IV Sutdents. Master for Education Thesis in Science
Education. Graduate School, Khon Kaen University. (in Thai)
8.Sinlarat, P. (2012). Principles and techniques of higher education. (3 ed.). Bangkok: Chulalongkorn
University. (in Thai)
9.Tobua, S. (2013). The Experience Learning through Reflective Thinking and Research based
Learning for Developing the Research Competencies. Journal of Faculty of applied
arts, 6(2), 31-40. (in Thai)
10.Viennot, L. & Rainson, S. (1999). Design and evaluation of a research-based teaching sequence:
the superposition of electric field. International Journal of Science Education. Volume
21, Issue 1 [Online]. Retrieved July 10, 2017, from: http://www.tandfonline.com/doi/
abs/10.1080/095006999290804.
11.Waite, S. J. & Davis, B. (2006). Developing Undergraduate Research skills in a Faculty of Education:
Motivation through Collaboration. Higher Education Research and Development, 25(4),
403-419 [Online]. Retrieved July 10, 2017, from: http://www.tandfonline.com/doi/abs/
10.1080/07294360600947426.
12.Wichadee, S. (n.d.). Education in the New Paradigm: Research – based Learning [Online].
Retrieved July 10, 2017, from: http://www.bu.ac.th2knowledgecenter/executive_journal/
july_sep_11/pdf2aw4.pdf. (in Thai)