ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกำลังพลกองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย

Main Article Content

ชมพูนุท ศรีพงษ์
สันติ อารักษ์คุณากร
ปิยะดา มณีนิล
สัสดี กำแพงดี

บทคัดย่อ

ความทุ่มเทในงานของผู้ปฏิบัติงานนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกำลังพล กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย 2) ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของกำลังพลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานดังกล่าว โดยผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกำลังพลระดับต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือดังต่อไปนี้ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์จำนวน 479 นาย 47 นาย และ 6 นาย ตามลำดับ จากการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า กำลังพลมีความทุ่มเทในการปฏิบัติงานระดับมาก กำลังพลที่มีสถานะทางทหารต่างกันมีความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเสริมพลังอำนาจในการปฏิบัติงานด้านการได้รับโอกาสจากองค์การ ความพึงพอใจในงานด้านลักษณะงาน ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านความก้าวหน้า และด้านผลตอบแทน มีอิทธิพลทางบวกต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานนอกจากนี้จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ยังพบปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ อุดมการณ์ทหารในการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตในการทำงาน ดังนั้นการเสริมสร้างความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกำลังพล ผู้บังคับบัญชาควรเน้นปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2554). คู่มือการปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทหารกองทัพบก.
กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
2.กองพลทหารราบที่ 15. (2556). สรุปความคืบหน้าโครงการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 15. ปัตตานี
: ผู้แต่ง.
3.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 11).
กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
5.ไตรจักร นาคะไพบูลย์. (2555). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การตรวจเลือกทหาร
กองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการ. กรุงเทพฯ : กองการสัสดี หน่วยบัญชาการ
รักษาดินแดน.
6.พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์
เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
7.ศ. ศิลาแลง. (2554). ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว. เสนาศึกษา, 77(1), 61-67.
8.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
9.Andotra, N. & Harleen, M. (2012). Job attitude to job involvement- A review of
Indian employees. Journal of Business and Management, 2(4), 1-9.
10.Bakker, A. B. & Demerouti, E. (2008). Towards a model of work engagement. Career
Development International, 13, 209-223.
11.Biswas, S. (2010). Job involvement as a predictor of intention turnover. LBS Journal
of Management & Research, 6, 32-37 [Online] Retrieved August 10, 2013,
from: www.IndianJournals.com.
12.Chughtai, A. A. (2008). Impact of job involvement on in-role job performance and
organizational citizenship behavior. Journal of Behavioral and Applied
Management, 9(2), 169-182.
13.Esfahani, M. J., Emami, M. & Tajnesaei, H. R. (2013). The investigation of the relation
between job involvement and organizational commitment. Management
Science Letters, 3(2), 511-518.
14.Hamed, S. S. (2010). Antecedents and consequences of employees empowerment.
Management Review: An International Journal, 5(1), 64-94.
15.Ha-Young, H. (2009). Analysis the factors impact on the job Involvement and
organizational commitment. Korea: Department of Public Administration
Korea University.
16.Kanter, R. M. (1979). Power failure in management circuits. Harvard Business Review,
57(4), 65-75.
17.Keller, G. & Warrack, B. (1997). Statistics for management and economics. (4th ed.).
London: Duxbury Press.
18.Liao, C. & Lee, C. (2009). An empirical study of employee job involvement and
personality traits: The case of Taiwan. International Journal of Economics
and Management, 3(1), 22-36.
19.Lodahl, T. M. & Kejner, M. (1965). The definition and measurement of job involvement.
Journal of Applied Psychology, 49(1), 24-33.
20.Ongori, H. (2009). Managing behind the scenes: A view point on employee
empowerment. African Journal of Business Management, 3(1), 9-15.
21.Paterson, J. M. & O’Driscoll, M. P. (2008). An empirical assessment of Kanungo’s
(1982) concept and measure of job involvement. Applied Psychology, 39(3),
293-306.
22.Saeed, Y., Tabanejad, Z., Nehrir, B., Ebadi, A., Khoshab, H. & Babajani, S. (2015).
The relationship between job involvement and demographic characteristics
in nurses in hospitals of Tehran and Kerman in 2013. Journal of Clinical
Nursing and Midwifery, 4(3), 39-46.
23.Smith, P.C., Kendall, L.M. & Hulin, C. L. (1969). The measurement of satisfaction in
work and retirement. Chicago: Rand Mc Nally.
24.Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Rows.