ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของชาวสวนยางกับเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ชูตา แก้วละเอียด

บทคัดย่อ

ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ชาวสวนยางมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสวนยางทั้งก่อนและเมื่อเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนยางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครอบคลุม 19 อำเภอ จำนวน 990 คน การสำรวจทำทั้งการสอบถาม และสัมภาษณ์ตามข้อคำถามที่ได้กำหนดและผ่านการตรวจสอบก่อนที่ให้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ตอบ สำหรับแบบสอบถามมี 5 ส่วน มีข้อคำถาม 43 ข้อ คือข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งก่อนและขณะกำลังเกิดสถานการณ์ความไม่สงบข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows พบว่าชาวสวนยางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรายรับที่ได้จากการขายยางในแต่ละวันก่อนสถานการณ์ความไม่สงบคิดเป็นมูลค่า 1,197 บาทต่ออวัน ขณะเมื่อมีสถานการณ์ความไม่สงบมีรายรับเพียง 952 บาทต่อวันส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก่อนสถานการณ์ฯ มีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 3.56 แต่ขณะเมื่อมีสถานการณ์ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 2.16 จากการเปรียบเทียบผลการประกอบอาชีพสวนยางก่อน และหลังการร่วมกันหาแนวทาง เพื่อเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่บ้านบุดี จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของภาคี 3 ฝ่ายคือชาวสวนยาง นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับยาง ทั้งหมด 45 คน พบว่าปัญหาสำคัญของชาวสวนยางคือการมีเหตุร้ายรายวันทำให้ไปกรีดยางได้น้อยลง และต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำยางจากยางแผ่นเป็นยางถ้วยทำให้รายได้ลดลงประกอบกับการถูกกดราคายางถ้วยจากพ่อค้าที่รับซื้อในท้องถิ่น แนวทางที่ได้จากการร่วมกันระดมความคิดเห็นคือทุกคนต้องปรับปรุงคุณภาพของยางให้แห้ง สะอาด และไม่มีสิ่งปนเปื้อน นอกจากนั้นควรมีการตั้งจุดรับซื้อยางของกลุ่ม เพื่อนำส่งโรงงาน และเมื่อมีการติดตามผล หลังจากชาวสวนยางได้นำแนวทางที่ตกลงกันไปปฏิบัติพบว่า คุณภาพการทำยางถ้วยดีขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 92.0 และราคาที่ขายได้ดีขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 87.5 จะเห็นได้ว่าชาวสวนยางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำต้องอาศัยความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากองค์กรและชุมชนเป็นสำคัญ  

Article Details

บท
บทความวิจัย