การชักนำให้เกิดหัวย่อยของลิลลี่ (Lilium longiflorum) ลูกผสมสายพันธุ์ Formolongo ในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพิ่มปริมาณของดอกลิลลี่ Longiflorum สายพันธุ์ Formolongo ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อเป็นวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการผลิตหัวย่อยของลิลลี่ในสภาพปลอดเชื้อ โดยการนำกลีบหัวของลิลลี่มาฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวด้วยคลอรอกซ์ความเข้มข้นต่างๆ เป็นเวลา 20 นาที แล้วนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารพื้นฐานสูตร MS ที่ไม่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่าคลอรอกซ์ 30% สามารถฟอกฆ่าเชื้อกลีบหัวได้ดีที่สุดมีเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อเท่ากับ 62% ย้ายชิ้นเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยงบนอาหารพื้นฐานสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญ BA ร่วมกับ NAA ที่ความเข้มข้น 0, 0.5, 0.75, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตรตามลำดับ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 0.75 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดกลุ่มยอดได้มากที่สุด จากนั้นแยกกลุ่มยอดไปเลี้ยงบนอาหาร MS ที่ไม่มีสารควบคุมการเจริญเป็นเวลา 6 สัปดาห์ จนได้ยอดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวประมาณ 6 มิลลิเมตร แล้วนำไปเลี้ยงบนอาหารพื้นฐานสูตร MS ที่มีปริมาณน้ำตาล 30, 60, 90 และ 120 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหาร MS ที่เติมน้ำตาล 60 กรัม/ลิตร จะได้หัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (14 มิลลิเมตร) ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้สูตรอาหาร MS ที่เติมน้ำตาล 60 กรัม/ลิตรจึงเหมาะสมสำหรับการชักนำให้เกิดหัวย่อยของลิลลี่ในสภาพปลอดเชื้อ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น