การวัดตอบสนองของเซรามิกส์ที่มีต่อก๊าซอะซีโตน และ H2O2 และการประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์สวิตช์ก๊าซ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมก้อนสาร Bi2O3+Fe2O3 จากวัสดุตั้งต้นที่เป็นผงโดยวิธีเซรามิกส์มาตรฐาน วัดการตอบสนองต่อก๊าซอะซีโตนและ H2O2 และประยุกต์ใช้งานเป็นสวิตช์ก๊าซ ได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับการทดสอบสารที่ประกอบด้วยขั้วต่อ LP, การ์ด DAQ และแลปวิว เมื่อทดสอบโดยใช้ก๊าซอะซีโตนพบว่าสาร Bi2O3+Fe2O3 มีแรงดันไฟฟ้าลดลงในช่วง 3.97V – 3.45V ในขณะที่ได้รับก๊าซอะซีโตน ค่าสภาพความไวต่อก๊าซ (G) อะซีโตของสาร Bi2O3+Fe2O3 มีค่า -13.098% ค่า G ที่เป็นลบชี้บอกว่าสารมีความต้านทานลดลงเมื่อได้รับก๊าซ การทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สวิตช์ก๊าซจะอาศัยการเปรียบเทียบระหว่างแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมสารกับแรงดันที่ตั้งไว้ (4.42 V) ผลการเปรียบเทียบค่าจะไปควบคุมการทำงานของรีเลย์ โซลิคสเตทรีเลย์และอุปกรณ์เตือนก๊าซ เมื่อทดสอบโดยใช้ก๊าซ H2O2 พบว่าสาร Bi2O3+Fe2O3 มีแรงดันไฟฟ้าลดลงในช่วง 1.33V – 1.275V ในขณะที่ได้รับก๊าซ H_2 O_2 ค่าสภาพความไวต่อก๊าซ (G) H_2 O_2 ของสาร Bi2O3+Fe2 O3 มีค่า -7.6% ค่า G ที่เป็นลบชี้บอกว่าสารทีความต้านทานลดลงเมื่อได้รับก๊าซ การทำงานที่เป็นอุปกรณ์สวิตช์ก๊าซจะอาศัยการเปรียบเทียบระหว่างแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมสารกับแรงดันที่ได้ตั้งไว้ (3.66V) ผลการเปรียบเทียบค่าจะไปควบคุม การทำงานของรีเลย์ โซลิดสเตทรีเลย์และอุปกรณ์เตือนก๊าซ คำสำคัญ เซรามิกส์ที่สนองต่อก๊าซอะซีโตน เซรามิกส์ที่ตอบสนองต่อก๊าซ H2 O2 สวิตช์ก๊าซอะซีโตน สวิตช์ก๊าซ H2O2 แลปวิว
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น